เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2019 ปีที่แล้ว มีรายงานจาก The Next Web ระบุว่า Nike แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาชั้นนำระดับโลก ได้ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าสำหรับแอปพลิเคชั่น “cryptokicks” ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับรองเท้าและซอฟต์แวร์หรือเรียกว่า “footware” โดยการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ ถือว่าเป็นก้าวแรกของ Nike ในการเดินหน้ากับเรื่องสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งถือเป็นการปูทางของ Nike ไปสู่การเสนอขายเหรียญสกุลเงินดิจิทัลและการใช้งานเทคโนโลยีบล็อคเชนอื่น ๆ ในอนาคต
ต่อมา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2019 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า Nike ได้ยื่นจดสิทธิบัตร “CryptoKicks” ซึ่งเป็นระบบการสร้างโทเค็นรองเท้าบนบล็อคเชนของ Ethereum ที่จะอยู่ในรูปของ ERC721 หรือ ERC1155 เพื่อใช้ในการตรวจสอบและการทำธุรกรรมของรองเท้า โดยโทเค็นดังกล่าวสามารถบันทึกข้อมูลองค์ประกอบของรองเท้าแบบดิจิทัล รวมถึงคุณลักษณะเฉพาะทั้ง สี สไตล์ และลวดลาย และเมื่อนำรองเท้าไปขายต่อ ก็ยังสามารถส่งต่อสิทธิ์ความเป็นเจ้าของของโทเค็นดิจิทัลไปได้อีกด้วย
ล่าสุด ได้มีการเผยแพร่เอกสารทางเทคนิคจากโครงการ The Chain Integration Pilot หรือ CHIP ของแล็ป RFID มหาวิทยาลัย Auburn ในรัฐอลาบาม่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แสดงถึงแนวคิดในการพยายามแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพความปลอดภัยของเทคโนโลยีบล็อคเชนในการที่จะสามารถแก้ปัญหาบนซัพพลายเชนได้ ซึ่งโครงการ CHIP นั้นเปิดตัวไปในปี 2018 และมีการอ้างว่า CHIP เป็นโครงการซัพพลายเชนรายแรกที่ได้ทำการรวมข้อมูลจาก RFID tags เข้าไปบนเครือข่ายบล็อคเชน
โดยหลักฐานแนวคิดดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเข้ารหัส การกระจาย และการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ จากหลาย ๆ จุดตลอดทั้งซัพพลายเชนบน Hyperledger Fabric ซึ่งก็ได้เริ่มทำการเก็บข้อมูลจากแบรนด์ชื่อดังหลายๆ แบรนด์ อาทิ Nike, PVH Corp. และ Herman Kay และค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง Kohl’s และ Macy’s อีกด้วย
จากข้อมูลของโครงการ พบว่า มีข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าถูกอัพโหลดแล้วกว่า 223,036 รายการไปยังบัญชีแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger) โดยมีการอัพโหลดข้อมูลจากร้านค้าเพียง 1% เท่านั้น และเป็นข้อมูลมาจากศูนย์กระจายสินค้าประมาณ 87% ที่เหลืออีก 12% นั้นกระจายมาจากที่อื่น ๆ
ซึ่งจากรายงานของ CHIP พบว่า บล็อคเชนนั้นเป็นช่วยในการแก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนข้อมูลซีเรียลนัมเบอร์ในซัพพลายเชน โดยบริษัทที่เข้าร่วมนั้นสามารถบันทึกข้อมูลซีเรียลนัมเบอร์ที่ทุกฝ่ายสามารถอ่านได้ และยังสามารถแบ่งปันข้อมูลนั้น ๆ กับคู่ค้าที่เหมาะสมได้อีกด้วย
โดยจากบทความได้ระบุว่า การกำจัดสินค้าปลอมแปลงและการความไร้ประสิทธิภาพในซัพพลายเชนนั้น สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้เป็นมูลค่าประมาณ 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เทคโนโลยีการติดตามซัพพลายเชนแบบดั้งเดิมนั้นถือว่า“ ล้าสมัย” ไปแล้ว และมันถูกสร้างขึ้นสำหรับ “เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยุคเก่า” และไม่เหมาะที่จะใช้ในการจัดการกับข้อมูลอนุกรมจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบซัพพลายเชนในปัจจุบัน
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: HSBC: บล็อกเชนช่วยให้การค้าระหว่างประเทศราบรื่นแม้เจอปัญหา Coronavirus