หลังจากระดมทุนได้ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการเสนอขายตราสารหนี้ ทาง MicroStrategyก็ไม่รอช้ารีบเข้าซื้อบิทคอยน์รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 19,542 บิทคอยน์ทันที่ โดยราคาเฉลี่ยต่อหนึ่งบิทคอยน์ขณะซื้ออยู่ที่ 52,765 ดอลลาร์สหรัฐ
ความเคลื่อนไหวข้างต้น ส่งผลให้ จำนวนบิทคอยน์ที่ทาง MicroStrategy ครอบครองอยู่ เมื่อรวมกับการซื้อครั้งก่อนหน้า มีจำนวนทั้งหมดอยู่ที่ 90,531 บิทคอยน์ โดยเมื่อเทียบกับมูลค่าบิทคอยน์ในตลาดปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อBTC ทำให้MicroStrategy มีบิทคอยน์อยู่ทั้งสิ้น 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะเดียวกัน การเข้าซื้อบิทคอยน์ครั้งล่าสุดนี้ยังได้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ MicroStrategy ในฐานะบริษัทจดทะเบียนชั้นนำที่มีชื่อเสียงในนำเงินบริษัทเข้าไปลงทุนในบิทคอยน์ โดยมีเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำตามมาติดๆ จากการซื้อบิทคอยน์มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เพียงหนึ่งวันก่อน Jack Dorsey ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Square และเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนบิทคอยน์มาอย่างยาวนาน เพิ่งจะประกาศยื่นเอกสารของซื้อบิทคอยน์เพิ่มเติมมูลค่ารวม 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เมื่อข้ามฟากไปยังอีกฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก บริษัทจดทะเบียนสัญชาติเยอรมนีอย่าง SynBiotic SE ก็ได้เข้าไปลงทุนในบิทคอยน์ตามรอย Tesla และ MicroStrategy ด้วยเช่นกัน
การจัดสรรสัดส่วนดุลบัญชีโดยให้พื้นที่กับบิทคอยน์ของ MicroStrategy ทำให้บิทคอยน์กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อการลงทุนที่สำคัญ โดยหลังจากที่ MicroStrategy ประกาศเรื่องการซื้อบิทคอยน์ครั้งนี้เพียงไม่นาน ราคาหุ้นของบริษัทก็พุ่งขึ้นสูงกว่า 10% จากวันก่อนหน้า ดูเหมือนว่านักลงทุนจะนิยมใช้กลยุทธ์ของ Saylor ในการจัดสรรเงินสดขององค์กรให้กับบิทคอยน์
ทั้งนี้ ในขณะที่บริษัทต่างๆ หันมาสะสมบิทคอยน์ โดยมี HODLers HODLing มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่ราคาของบิทคอยน์จะขยับปรับขึ้นไปอีก โดยช่วงขาขึ้นของราคาบิทคอยน์ครั้งนี้แตกต่างจากเมื่อครั้งปี 2017 เพราะในขณะนั้น ไม่มี MicroStrategy หรือ Tesla แถมบรรดานายธนาคารในตลาดวอลสตรีทต่างก็ดูแคลนบิทคอยน์กันทั่วหน้า