fbpx
Skip to content Skip to footer

Libra จะช่วยให้สหรัฐฯยังเป็นยักษ์ใหญ่ด้านการเงินของโลกและแข่งขันกับจีนได้ : มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก

Facebook ได้รับแรงกดดันรอบด้านก่อนที่จะเปิดตัวเงินดิจิตอล Libra ในปีหน้า ล่าสุดมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่เปิดตัว Libra จนกว่าสภาครองเกรสสหรัฐฯจะให้การรับรอง 

รายงานจากสื่อ AP News ระบุว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก มีกำหนดจะเข้าพบคณะกรรมการกำกับดูแลทางด้านการเงินของสภาครองเกรส เพื่อเข้าชี้แจงข้อสงสัยและข้อกังวลของเงินดิจิตอลสกุล Libra แต่เขาได้ออกมาประกาศก่อนว่าจะไม่มีทางเห็น Libra ให้บริการ ไม่ว่าจะประเทศใดในโลกก่อนที่ทางการสหรัฐฯจะให้การรับรอง

“Calibra จะไม่มีการแชร์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้าให้กับ Facebook ยกเว้นทำเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางการเงิน ระบบการชำระเงินจะต้องรองรับมาตราฐานป้องกันการฟอกเงิน นอกจากนี้ Libra ไม่ได้มีความต้องการจะมาแทนที่สกุลเงินของชาติใดๆ เป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มชำระเงินเท่านั้น”

ลือ!! ยังไม่มีพันธมิตร Libra ชำระเงินค่าแรกเข้า

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว BBC ได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่าถึงตอนนี้ยังไม่มีพันธมิตรรายใดของ Libra Association ที่ยืนยันว่าจะสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับโครงการดังกล่าวแต่อย่างไร แหล่งข่าวกล่าวว่าสมาชิกยังไม่ได้ตกลงเรื่องของค่าธรรมเนียมแลกเข้าเพื่อเป็นสมาชิกของ Libra Association 

10 ล้านเหรียญสหรัฐ คือตัวเลขที่สมาชิกจะต้องวางเงินให้กับ Libra Association เพื่อได้สิทธิการโหวตในสภาสมาชิก

Libra จะต้องออกมาแข่งขันกับเงินดิจิตอลของจีน

ล่าสุด  มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ได้กล่าวต่อสภาครองเกรสว่าเงินดิจิตอลสกุล Libra จะช่วยให้สหรัฐฯยังคงความเป็นผู้นำทางด้านการเงินของโลกได้ เนื่องจากมีสัดส่วนของเงินดอลลาร์อยู่ถึง 50% 

เขายังได้กล่าวด้วยว่าจีนกำลังจะเปิดตัวเงินสกุลดิจิตอลที่คล้ายกับ Libra ในเร็วๆนี้ สหรัฐฯจึงต้องสร้างนวัตรกรรมใหม่ๆทางการเงินเพื่อที่จะแข่งขันกับจีนและคู่แข่งอื่นๆได้ นอกจากนี้จีนยังสร้างบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในระดับโลกออกมาอย่างต่อเนื่อง 

“6 ใน 10 ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของโลกอาจจะเป็นของจีนก็เป็นได้”

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : หาก Libra ไม่ได้ไปต่อ ตลาดเงินดิจิตอลจะเป็นอย่างไร?

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN