นักลงทุนสถาบันและผู้เล่นรายใหญ่ ยังมองว่าการเป็นเจ้าของและลงทุนในเงินดิจิทัลหรือ คริปโต เคอร์เรนซี่นั้นมีความเสี่ยงสูง จากรายงานร่วมของบริษัทออดิทเตอร์ยักษ์ใหญ่ KPMG และ Bloomberg เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัท KPMG คาดการณ์ว่า นับตั้งแต่ปี 2017 มีเงินคริปโตฯถูกขโมยไปแล้วเป็นมูลค่าถึง 9.8 พันล้านดอลลาร์
จากผลการวิจัยของ KPMG พบว่า การรักษาความปลอดภัยที่หละหลวมและโปรแกรมที่เขียนขึ้นอย่างไม่รอบคอบ ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สินทรัพย์เหล่านั้นถูกขโมย การรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้กลายเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้นเมื่อนักลงทุนสถาบันเริ่มนำ Bitcoin (BTC) และ Ethereum (ETH) มาเป็นส่วนหนึ่งในพอร์ตการลงทุนของพวกเขา
เมื่อมีดีมานด์ หลายบริษัทจึงก้าวเข้ามาให้บริการด้านการรับดูแลทรัพย์สินดิจิทัล ทั้งบริษัทรุ่นเก๋าอย่าง Fidelity และ Intercontinental Exchange รวมถึงบริษัทด้านคริปโตโดยตรงอย่าง Coinbase และ Gemini ก็เข้ามาร่วมวงด้วย
นาย Sal Ternullo แห่ง KPMG และหนึ่งในผู้เขียนรายงานได้อธิบายว่า การขาดบริการรับดูแลสินทรัพย์ที่เหมาะสมนั้นเป็นถือข้อกังวลใหญ่สำหรับนักลงทุนระดับสถาบัน:
“นักลงทุนสถาบันจะไม่เสี่ยงมาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอันขาด หากพวกเขาไม่สามารถหาคนมาดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลของพวกเขาได้เหมือนเงินสด หุ้น และพันธบัตร”
โอกาสทองของบริษัทผู้ให้บริการดูแลทรัพย์สิน
ความกระจายศูนย์ (Decentralization) ซึ่งเป็นคุณสัมบัติใหญ่ของเงินคริปโตฯ อาจกลายเป็นดาบสองคมได้หากพวกมันถูกขโมย เพราะมันสามารถถูกนำไปใช้งานหรือขายต่อได้ในทันทีเนื่องจากไม่มีรัฐบาลมากำกับควบคุมดูแลว่าใครเป็นเจ้าของ และไม่มีหน่วยงานตัวกลางอย่างธนาคารที่จะสามารถยกเลิกธุรกรรมที่ถูกขโมยได้ หากคุณเสียไพรเวทคีย์ไป นั่นหมายความว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของเงินคริปโตฯนั้นอีกต่อไปแล้ว
ในความเป็นจริงแล้ว การถูกแฮคไม่ได้เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ดีพอ หรือการถูกขโมยไพรเวทคีย์เท่านั้น เหล่าผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินคริปโตฯ หรือ Exchange ก็กำลังปวดหัวกับปัญหานี้อยู่ไม่น้อย โดยมี Exchange ถึงสิบสองแห่งที่ถูกแฮ็กไปในปี 2019 รวมถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Binance โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมถึงกว่า 300 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
โดยเหล่าผู้ดูแลทรัพย์สินดิจิทัลนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเติบโตของคริปโตฯ ตามรายงานของ KPMG ได้ระบุไว้ว่า:
“เมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยม บริษัทที่ให้บริการดูแลทรัพย์สินเหล่านี้ย่อมมีโอกาสที่จะทำกำไรได้อย่างมหาศาล – ทั้งจากการรับค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการทรัพย์สินนั้น ๆ และจากการนำเสนอบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย”
รายงานฉบับนี้ยังกล่าวถึงความจำเป็นในการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติตามข้อบังคับในการจัดเก็บสกุลเงินดิจิทัลสำหรับลูกค้า นอกจากนี้การกระทำตามกฏหมายต่อต้านการฟอกเงินและการทำ KYC จะต้องถูกสังเหตุการณ์โดยตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงธนาคารและผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินคริปโตฯ อื่น ๆ ด้วย แม้แต่กับบริษัทที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียง ทาง KPMG ยังเชื่อว่ายังต้องได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกันสินทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: OKEx และ Bitfinex สองเว็บเทรดชื่อดัง ถูกโจมตีระบบด้วยวิธี DDoS โวย! คู่แข่งอยู่เบื้องหลัง