fbpx
Skip to content Skip to footer

GitHub เตรียมนำโค้ดบิทคอยน์ฝังไว้ใต้น้ำแข็งหวังสืบทอดต่อให้ชนรุ่นหลังไปอีกพันปี

Githup

GitHub มีแผนที่จะนำโค้ดของบิทคอยน์และซอฟต์แวร์ที่สำคัญอื่น ๆ มาจัดเก็บลงไว้ในม้วนฟิล์มและนำไปเก็บรักษาไว้ให้อยู่คู่มนุษยชาติไปนับพันปีใต้พื้นน้ำแข็งอาร์กติกบนเกาะ Svalbard ประเทศนอร์เวย์ นี่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม GitHub Archive Program ซึ่งมีภารกิจจัดเก็บซอฟท์แวร์ประเภท Open-source เอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้อารยะธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

GitHub เป็นจับมือกับสถาบันต่าง ๆ เช่น Software Heritage Foundation, Arctic World Archive และหอสมุด Bodleian แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโค๊ดดังกล่าวจะไม่ถูกทำลาย ถูกลืม หรือสูญหายไป

ด้วยความที่สื่อจัดเก็บในปัจจุบันนั้นไม่มีความยั่งยืน โดยต้องทำการเก็บซอฟต์แวร์ไว้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือไฟล์เสีย โดยมีชื่อย่อเล่น ๆ ที่ใช้กันในวงการว่า LOCKSS ย่อมาจาก “Lots Of Copies Keeps Stuff Safe” หรือการก็อปปี้เก็บไว้หลาย ๆ ที่แล้วจะปลอดภัยเอง

จัดเก็บข้อมูลไว้ลึกกว่า 3,500 ฟุตใต้น้ำแข็ง

การเก็บข้อมูลออนไลน์ส่วนใหญ่จะมีหลากหลายวิธีซึ่งเรียกว่า “Pace Layers” เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและมีความทนทานที่สุด

โดยขั้นแรกคือ ทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลไปยัง GitHub จะก็อปปี้ข้อมูลนั้นซ้ำหลาย ๆ ครั้งและส่งกระจายไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นทั่วโลก โดยพร้อมจะอัพเดทและใช้งานได้จริงแบบเรียลไทม์ ซึ่งกระบวนการดังกลาวนี้จะเรียกว่า Hot Layer

ขั้นต่อไปคือ Warm Layer ซึ่งจะอัพเดตข้อมูลทุกเดือนหรือทุกปี และกระจายเก็บไว้ในหลากหลายภูมิภาคของโลกเช่นกัน

และขั้นสุดท้ายคือ Cold Layer ซึ่งจะอัปเดตข้อมูลทุก ๆ 5 ปี และโปรเจกต์การเก็บข้องมูลใต้ชั้นน้ำแข็งของ GitHub นี้ก็ถือเป็น Cold Layer เช่นกัน โดยครั้งล่าสุดที่อัพเดทคือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2020

โดยข้อมูลของโปรเจกต์บน GitHub ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในม้วนฟิล์มความยาวกว่า 3,500 ฟุต ดำเนินการโดยบริษัทสัญชาตินอร์เวย์ชื่อว่า Piql ซึ่งมีความชำนาญพิเศษในด้านการจัดเก็บข้อมูลระยะยาว 

ม้วนฟิล์มดังกล่าวจะถูกจัดเก็บลึกลงไป 250 เมตร ในเหมืองถ่านหินเก่าซึ่งบริหารจัดการโดย Arctic World Archive (AWA) ซึ่งอยู่บนเกาะ Svalbard ที่มีชั้นน้ำแข็งปกคลุมตลอดเวลา โดยเหมืองแห่งนี้ห่างไปจาก Global Seed Vault อันโด่งดัง ที่ใช้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธ์พืชจากทั่วโลกไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น

Backup ข้อมูลให้ลูกหลานในอนาคตได้ศึกษา

สำเนาของม้วนฟิล์มฉบับเดียวกันนี้ ซึ่งมีทั้งโค้ดของบิทคอยน์และข้อมูลอื่น ๆ อีก 10,000 ชิ้น จะยังถูกไปเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุด Bodleian ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดด้วยเช่นกัน

เป้าหมายสูงสุดของโปรเจกต์นี้ก็คือการเก็บข้อมูลสาธารณะที่สำคัญเอาไว้ให้คงอยู่แม้เวลาจะผ่านไปเป็นหมื่น ๆ ปี โดยอาจจะมีการร่วมมือกับโปรเจกต์ Silica ของไมโครซอฟท์ ที่จะนำโค้ดเหล่านั้นไปสลักด้วยเลเซอร์ไว้บนหินควอตซ์อีกด้วย

อุตสาหกรรมคริปโตฯ ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดเด่นจากคุณสมบัติแห่งความโปร่งใส สามารถตรวจสอบ และให้ทุกคนเข้าร่วมใช้และพัฒนาได้ หลายโปรเจกต์ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบ Open Source ซึ่ง GitHub แหล่งชุมชนสำคัญในการพัฒนาและดูแลข้อมูลเหล่านี้

ความพยายามที่จะจัดเก็บโค้ดบิทคอยน์ครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการสูญหายของเทคโนโลยี และมั่นใจได้ว่าผู้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ในอนาคตจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีนี้ได้

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง :  Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum ชี้ Bitcoin ไม่ได้สร้างมาเพื่อเป็นทองคำดิจิทัล

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN