Binance บริษัทด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน แอบเปิดให้บริการใหม่ Binance Pay อย่างเงียบ ในช่วงต้นเดือนก.พ.นี้
รายงานระบุว่า Chao Zhanpine ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) และผู้ก่อตั้ง Binance ได้ประกาศเปิดตัวบริการ Binance Pay ในระหว่างงานกิจกรรม Binance Blockchain ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์
ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Binance ระบุว่า Binance Pay จะเป็นโซลูชั่นใหม่ของการชำระเงินที่ประยุกต์เอาเทคโนโลยีไร้สัมผัสมาให้ผู้ใช้งาน Binance ทุกคนได้ใช้บริการ ซึ่งระบบบริการดังกล่าวขณะนี้อยู่ใน beta ที่หมายความได้ว่า ข้อบกพร่องด้านซอฟท์แวร์ที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจาก Binance อีกต่อไป
รายงานระบุว่า Binance Pay สามารถรองรับการใช้งานของแอปลิเคชั่นบนมือถือของ Binance เท่านั้น ส่งผลให้ผู้ใช้งานที่คุ้นเคยกับการซื้อขาย Binance บนเว็บเวอร์ชันเดิมอาจจะต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยกับการใช้งาน Binance Pay บนแอพฯบนมือถือ
ปัจจุบัน Binance Pay รองรับสกุลเงินดิจิทัล 6 สกุล ได้แก่ BTC, BUSD, ETH, EUR, และ SXP รวมถึง สกุลเงิน BNB ของตัวเอง นอกจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถรับหรือชำระเงินได้สูงสุดที่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ/หรือทำธุรกรรมได้ 10 ครั้งภายในกรอบเวลา 24 ชั่วโมง
สำหรับข้อดีที่ทำให้การใช้งาน Binance Pay เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ที่การที่บริการดังกล่าวไม่มีค่าธรรมเนียม ซึ่งน่าจะตอบโจทย์โดนใจบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่มองหาหนทางลดต้นทุนการทำธุรกรรมอยู่เสมอ กระนั้น ข้อด้อยของการใช้งาน Binance Pay ก็คือเมื่อทำธุรกรรมเรียบร้อยแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเพียงการยึดมั่นในจรรยาบรรณของการทำธุรกรรมบนบล็อกเชนเท่านั้น
ในส่วนของการรับชำระเงิน ผู้ใช้งานเพียงแค่แสดงให้ผู้จ่ายเห็นคิวอาร์โค้ดของผู้ใช้เท่านั้น ซึ่งการที่ Binance Pay จะได้รับการยอมรับจากกระแสหลักหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความเร็วในการทำธุรกรรมและฐานผู้ใช้งานที่เพียงพอต่อการสร้างผลกระทบเครือข่ายที่แข็งแกร่งมากแค่ไหน
สำหรับปัญหาด้านความเร็ว ผู้เขียนเชื่อว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดายเนื่องจาก Binance จะทำการชำระเงินภายในบัญชีแยกประเภทของตนเอง ส่วนประเด็นด้านฐานผู้ใช้งาน คุณสามารถนึกถึงการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลรายวันอื่นๆ ที่มีปริมาณมากได้หรือไม่?
ทั้งนี้ รายงานลงความเห็นว่า Binance Pay อาจเป็นคุณสมบัติที่ช่วยเสริมความเป็นผู้นำของ Binance ในพื้นที่คริปโต โดยผู้ที่ดำเนินการจำเป็นต้องจับตามองกฎระเบียบทั่วโลกให้ดี ซึ่งมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอยู่แล้วในกรณี ลิบราของเฟซบุ๊ก (ซึ่งขณะนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Diem)