นาย ไมเคิล บลูมเบิร์ก หนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2020 จากพรรคเดโมแครต ได้เปิดเผยถึงนโยบายที่มุ่งเน้นในการปฏิรูปทางการเงิน โดยมีข้อเสนอที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับอุสาหกรรมการเงินและสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโตเคอร์เรนซี่
ปัจจุบันคริปโตเคอร์เรนซี่หรือสกุลเงินดิจิทัล ได้ถูกจัดให้เป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงถึงเกือบสามแสนล้านดอลลาร์ แต่ในขณะเดียวกันกฏหมายหรือข้อบังคับที่ใช้ในการควบคุมนั้นยังมีความคลุมเครือและไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าทันกับสถานการณ์และความเป็นไปในปัจจุบัน
โดยสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่สุดของนโยบายนี้คือการทำให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการเปลื่ยนแปลงรูปแบบของตัวกลางในการเเลกเปลื่ยน (Medium of Exchange) จากเดิมที่เป็นเงินกระดาษหรือเหรียญมาเป็นตัวเลขดิจิทัลที่อยู่ในระบบ ทำให้นักลงทุนมีความไม่แน่ใจในตัวสินทรัพย์เนื่องจากไม่สามารถจับต้องได้ และอีกหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีความเสี่ยงในการลงทุน เช่นการหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทางกฏหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
นโยบายชูโรง
จากปัจจัยความเสี่ยงที่กล่าวไปข้างต้น คือสิ่งที่ นาย ไมเคิล บลูมเบิร์ก มองเห็นถึงปัญหาและตระหนักถึงความสำคัญของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อปัญหาที่ดังกล่าวได้รับการแก้ไข โดยเขาได้ให้รายละเอียดนโยบายไว้ดังนี้
- ระบุและชี้แจงความรับผิดชอบหน่วยงานในการกำกับและดูแลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี่อย่างชัดเจน
- วางกรอบมาตรฐานใหม่สำหรับการเสนอขายเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี่หรือ ไอซีโอ โดยจะแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าเหรีญเหล่านั้นถือเป็นหลักทรัพย์ (securitites) หรือไม่
- การคุ้มครองผู้ลงทุนที่ถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวง
- ชี้แจงถึงรายละเอียดในการเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินคริปโตฯ ให้ชัดเจน
- การกำหนดเงินทุนและกฏเกณฑ์ต่างๆของสถาบันทางการเงินที่ต้องการใช้หรือถือคริปโตเคอร์เรนซี่
โดยก่อนหน้านี้ก็มีผู้สมัครชาวอเมริกันเชื้อสายจีน นาย Andrew Yang ที่พยายามชูโรงเรื่องนโยบายที่เป็นมิตรต่อคริปโตเคอร์เรนซี่ และเงินเดือนพื้นฐานที่จะแจกให้แก่ชาวอเมริกันทุกวันเดือนละ $1,000 ก่อนที่เขาจะทำการถอนตัวไปเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: ล้ำไปอีก อินเดียประกาศจะใช้บล็อกเชนในการเลือกตั้งครั้งหน้า