นาย Christopher Giancarlo อดีตประธานคณะกรรมาธิการการหน่วยงาน Commodity Futures Trading Commission หรือ CFTC ซึ่งเป็นงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์กับรายการ Yahoo Finance โดยแสดงความเห็นต่อธนาคารคารกลาง สหรัฐฯ ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้ความสำคัญกับโครงการเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือ CBDC ที่ ณ ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอยู่
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา Bank of International Settlements ได้เปิดเผยถึงผลสำรวจของธนาคารกลางจากทั่วโลกมากกว่า 60 ประเทศ ในประเด็นการออก CBDC ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า มากกว่า 80% ของธนาคารกลางทั้งหมดตระหนักถึงความสำคัญและกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการโครงการดังกล่าว
ซึ่งทำให้เกิดการดำเนินการต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ CBDC เช่น การรวมตัวของธนาคารกลางเพื่อตั้งกลุ่ม BIS เพื่อศึกษา CBDC หรือจะเป็นการออกเหรียญ “e-krona”ของประเทศสวีเดนและการเร่งพัฒนาดิจิทัลเยนของญี่ปุ่น รวมถึงคู่ปรับมหาอำนาจอย่างจีนที่กำลังทดสอบโครงการต้นแบบด้วยการสร้างสกุลเงินดิจิทัลหยวนอีกด้วย
สิ่งหนึ่งที่เป็นต้นเหตุสำคัญในการเร่งพัฒนาโครงการ CBDC มาจากความกังวลของรัฐบาลของหลายประเทศต่อการมาของเหรียญคริปโตฯ และเงินดิจิทัลจากหน่วยงานอิสระ เช่น บิทคอยน์ และเหรียญ Libra โดยนาย Christopher Giancarlo ยังได้แสดงความเห็นว่า สกุลเงินดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ที่ถูกสร้างโดยไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือประชาชน นั้นล้วนแต่มีคุณค่าในการใช้งานที่ต่างกันออกไป รัฐบาลจึงสามารถพัฒนาเงินดิจิทัลของตัวเองควบคู่ไปด้วยกันได้
นาย Christopher Giancarlo เคยกล่าวในที่ประชุมรัฐสภาว่าลูก ๆ ของเขามีความสนใจในคริปโตฯ ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญที่แสดงถึงการเปลื่ยนแปลงของสังคมและนวัฒนธรรมอันเป็นผลมาจากเทคโนโลยี
“กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ อย่างที่เราเคยทำมาตลอด 90 ปี และตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการร่างและพัฒนาข้อควบคุมใหม่ ๆ เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยอีกครั้ง”
CBDC ที่ออกโดยธนาคารกลาง จะเป็นการสร้างเงินดิจิทัลขึ้นมาบนแพลตฟอร์มของบล็อกเชน ทำให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีคุณสมบัติกึ่งกระจายศูนย์ โดยจะแตกต่างจากบล็อกเชนสาธารณะอย่างของบิทคอยน์ที่เปิดให้ใครก็ได้สามารถเข้าร่วมเป็น Node เพื่อตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมบนบล็อกเชนได้อย่างโปร่งใสตลอดเวลา
โดยนาย Christopher Giancarlo ได้ยกตัวอย่างในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตฯมาปรับใช้ในการส่งเสริมระบบชำระเงินแบบออนไลน์ เพื่อเป็นทางเลือกในการชำระเงินที่นอกเหนือจากบัตรเดบิตและเครดิตการ์ด โดยมีจุดเด่นที่ไม่มีตัวกลางในการดำเนินการเหมือนกับบัตรเดบิตหรือเครดิต จึงทำให้มีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำลง
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: ทำไมธนาคารกลางบางประเทศยังลังเลที่จะออกเงินดิจิทัล (CBDC) ของตัวเอง?