ด้วยภาพรวมของตลาดคริปโตในหลายประเทศทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ซึ่งทางเว็บไซต์ได้สรุปรวบรวม เพื่อที่จะเป็นข้อมูลให้บรรดากูรูและนักลงทุนได้คาดการณ์กันต่อไปว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมคริปโตนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. นี้จะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป
เหตุการณ์พฤหัสบดีทมิฬ (Black Thursday Market Crash)
นอกจากคำว่า “new normal” และ “unprecedented” (ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน) จะเป็นผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมแล้ว การระบาดของไวรัสในช่วงเริ่มต้นคือเดือนมี.ค.ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างรุนแรงที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ในตลาด ตั้งแต่หุ้น โภคภัณฑ์ โลหะ ตราสารหนี้ ไปจนถึงสินทรัพย์ดิจิทัลร่วงดิ่งลงติดลบทั้งกระดาน และติดอยู่ในแดนลบนานต่อเนื่องหลายสัปดาห์ โดยราคาบิทคอยน์ปรับตัวลดลงแต่ระดับต่ำสุดถึง 6,400 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เทรดเดอร์ต้องขนานนามปรากฎการณ์ครั้งนี้ว่า พฤหัสบดีทมิฬ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า บิทคอยน์และเหรียญคริปโตหลักอื่นๆ จะสามารถพลิกฟื้นกลับคืนมาได้ และในระยะเวลาสั้นๆ บิทคอยน์ ซึ่งเป็นที่รู้จักยอมรับกันดีในเรื่องของผันผวนสูง กับมีระดับที่ผันผวนน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในเรื่องของดีมานต์ซัพพลายจากการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ของหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยก็ตกอยู่ในความผันผวนไม่แพ้กัน
ทั้งนี้ การจับคู่สินทรัพย์ทางการเงินแบบดั้งเดิมอื่นๆ กับบิทคอยน์ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่เลวร้ายในปีที่ผ่านมา กลายเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมให้บิทคอยน์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว หลังจากแสดงให้เห็นผลการดำเนินการที่น่าทึ่งในปี 2020 ท่ามกลางความผันผวนของราคาในแดนลบของบรรดาสินทรัพย์ในตลาด ผลตอบแทน 400% ตลอดปีของบิทคอยน์ทำให้ผู้เชื่อที่ไม่เชื่อมั่นในสกุลเงินดิจิทัลเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก
ปัจจุบันบิทคอยน์กลายเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายในฐานะ ‘ทองคำดิจิทัล’ และในขณะที่ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะ ‘ที่หลบภัย’ อย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหล่านักลงทุนได้เปลี่ยนพอร์ตการลงทุนส่วนหนึ่งไปยังบิทคอยน์เพื่อปกป้องหรือเพิ่มความมั่งคั่งของตนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
การhalving ของบิทคอยน์ในเดือนพฤษภาคม
ชุมชนคริปโตต่างคาดหวังต่อการฮาล์ฟวิ่งของบิทคอยน์ในเดือนพ.ค. 2020 มาตั้งแต่ปี 2019 ที่รางวัลผลตอบแทนของนักขุดลดลงจาก 12.5 มาอยู่ที่ 6.25 BTC หั่นผลกำไรของนักขุดลงถึง 50% หรืออาจมากกว่า เมื่อพิจาณาจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แสนแพงของปฎิบัติการขุดบิทคอยน์ อีกทั้งอุปสรรคความยุ่งยากของการขุดก็เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่พ.ค. 2020 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปริมาณเหรียญบิทคอยน์ใหม่ในตลาดลดลง
ในทางทฤษฎีแล้ว สภาพการณ์ข้างต้นน่าจะส่งผลทำให้มูลค่าของบิทคอยน์ในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณความต้องการบิทคอยน์ในตลาดจะเท่าเดิมก็ตาม ขณะที่ราคาบิทคอยน์ยังไม่ส่งสัญญาณขึ้นหรือลงอย่างชัดเจนในช่วงไม่หลายสัปดาห์หลังจากการฮาล์ฟวิ่ง แต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถกล่าวได้ว่า การฮาล์ฟวิ่งดังกล่าว มีผลโดยอ้อมต่อราคาขาขึ้นสุดร้อนแรงในช่วงปลายปีในเดือนธ.ค. ปี 2020 ของบิทคอยน์
การมาของ DeFi ดัน Ethereum แจ้งเกิด
Decentralized finance หรือ DeFi เราจะเป็นอย่างไรหากไม่มีปรากฎการณ์ DeFi เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี 2020
ก่อนหน้าที่อุตสาหกรรมคริปโตแทบจะไม่มีแนวคิดแปลกใหม่ใดๆ เกิดขึ้น จนกระทั่งเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่อุตสาหกรรมได้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของ DeFi ที่มีโครงการใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแทบจะในทุกสัปดาห์ พร้อมผลตอบแทนแก่ผู้ใช้หลายล้านดอลลาร์และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย ตราบเท่าที่พวกเขาวางเดิมพันสินทรัพย์บนเครือข่ายDeFi โดยผลตอบแทนที่อาจมากถึง 100, 200% และแม้แต่ 300% ทำให้นักลงทุนหน้าเก่าและใหม่หันหน้าเข้าซบตลาด DeFiอย่างคึกคัก
ขณะเดียวกัน อุปสรรคในการเปิดตัวและการลงทุนในโครงการ DeFiไม่เคยลดต่ำขนาดนี้มาก่อน โดยเป็นผลมาจากการที่ในช่วงฤดูร้อนมีโครงการของทีมนิรนามหลายโครงการซึ่งมาพร้อมกับแพลตฟอร์มใหม่มีขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งโครงการเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบทางเทคนิคหรือทางกฎหมายและสมาชิกในทีมสามารถไม่เปิดเผยตัวตนได้เพียงโต้ตอบกับชุมชนด้วยนามแฝง ขณะที่นักลงทุนเองก็ไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงการหรือเทคนิคของแพลตฟอร์มเพื่อลงทุนในทรัพย์สินของตนและเริ่มรับผลตอบแทนได้
ด้าน โทเคนสำหรับกำกับดูแลที่ชุมชนแพล็ตฟอร์มสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหลักของโครงการ เช่น การกำหนดรางวัลและผู้ใช้งานอื่นๆ ก็ได้รับความนิยมในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งแพล็ตฟอร์มดังกล่าวจะแจกจ่ายโทเคนดังกล่าวให้กับผู้ใช้ตามจำนวนที่พวกเขาวางเดิมพันหรือจำนวนการซื้อขายที่พวกเขาได้ทำและผู้ใช้จะใช้โทเค็นเหล่านี้เพื่อลงคะแนนในกระบวนการและการตัดสินใจที่เลือกตามที่เสนอโดยโครงการ
ทั้งนี้ DeFi ได้แสดงให้เห็นถึงแง่มุมที่แสนบันเทิงของคริปโต ยืนยันได้จากบรรดาโครงการสารพัดชื่อที่ผุดขึ้นมา เช่น Yam.Finance, Sushiswap, SUN และอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนนักลงทุนก็ยังมีส่วนร่วมในตลาดโดยไม่ต้องคิดมากเกี่ยวกับเรื่องนี้และสามารถรับผลตอบแทนจำนวนมากได้เหมือนกันซึ่งแตกต่างจากโครงการคริปโต ที่สร้างขึ้นแบบดั้งเดิมอย่าง Initial Coin Offering (ICO)
เมื่อ 99% ของโครงการ DeFi สร้างขึ้นบนเครือข่าย Ethereum ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมพุ่งสูงขึ้นในช่วงสามเดือนและเกิดความแออัดของเครือข่ายขึ้นบ่อยครั้ง แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ความจำเป็นของ Ethereum และ ETH แข็งแกร่งขึ้นซึ่งช่วยผลักดันมูลค่าของ altcoin ให้สูงขึ้นในช่วงไตรมาสดังกล่าว
สิ่งที่เราสามารถคาดหวังได้ในปี 2021 : ขณะที่กระแสความนิยมคลั่งไคล้ของDeFiมีแนวโน้มลดลงอย่างแน่นอน กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ฉลาดนักหากจะตัดDeFiทั้งหมดออกจากพอร์ตการลงทุนในปีนี้ เพราะยังมีทรัพย์สินมูลค่า 14.4 พันล้านเหรียญสหรัฐที่ถูกล็อคไว้บนแพลตฟอร์ม DeFi โดยปัจจุบัน DeFi กำลังรอปรับรูปแบบธุรกิจที่หากบริษัทใดสามารถทำได้สำเร็จและสามารถสร้างผลตอบแทนกลับมาสู่ผู้ใช้งานอีกครั้ง DeFiก็จะกลับมาผงาดในปี 2021ได้ไม่ยาก
ทั้งนี้ มีรายงานว่า หนึ่งในโครงการ DeFi อันดับต้น ๆ ของปี 2020 อย่าง Yearn.Finance (YFI) ได้ดำเนินการควบรวมกิจการหลายอย่างกับแพลตฟอร์ม DeFi ที่โดดเด่นอื่น ๆ เช่น Sushiswap และบริการข้อมูลหรือการรวบรวมในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา พร้อมแสดงความกระตือรือร้นที่จะเพิ่มระบบนิเวศและสร้างสิ่งที่อาจเป็นไปได้ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่รอคอยDeFiอยู่อาจเป็นชะตากรรมของ ICO ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนที่ไม่สามารถใช้งานได้กับธุรกิจ crypto อีกต่อไปเนื่องจากปัญหาในเรื่องของตัวแทนและปัจจัยอื่น ๆ
การเดินหน้าเปิดตัว Ethereum 2.0
ในที่สุด Ethereum 2.0 ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวตามกำหนดการในช่วงปลายเดือนพ.ย.ปี 2020 หลังการพูดคุยและวางแผนที่จะอัพเกรดระบบ Ethereum 1.0 มานานหลายปี โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายเป็นสิ่งที่ทีมนักพัฒนาให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ มาโดยตลอด แต่ในขณะที่การออกแบบและวางแผนสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ Ethereum 2.0 นั้นดูง่ายพอสมควร แต่การโยกย้ายและการนำเทคโนโลยีไปใช้จริงก็เป็นสิ่งที่ไม่งาย หลังล่าช้าหลายปี รวมถึงในปี 2020 ที่ยังคงมีการผลักดันวันที่เปิดตัว Phase 0 อย่างต่อเนื่อง ในที่สุด ฟังก์ชันการปักหลักของ Ethereum 2.0 ก็มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ การเปลี่ยนจากขั้นตอนการพิสูจน์การทำงานไปเป็นอัลกอริธึมการพิสูจน์การมีส่วนได้ส่วนเสีย (proof-of-work to a proof-of-stake algorithm) ได้ช่วยเปิดทางให้ชุมชนสามารถเข้ามารวมตัวกันได้มากขึ้นในขั้นตอนการทำธุรกรรมblock rewards ขณะที่ผู้ถือหุ้นจะต้องวาง ETH 32 บนเครือข่ายผ่านสัญญาการฝากเงินเพื่อให้มีสิทธิ์เป็น หนึ่งในเครื่องมือตรวจสอบจำนวนมากของเครือข่าย สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ตรวจสอบได้รับเงินรางวัลสำหรับการประมวลผลบล็อกและโดยรวมแล้วเป็นกระบวนการที่เปิดกว้างและโปร่งใสมากขึ้น
สิ่งที่เราสามารถคาดหวังได้ในปี 2021 : เฟส 1 หรือ ระยะที่ 1 มีกำหนดสำหรับการพัฒนาและเปิดตัวในปีนี้ (2021) หลังจากการพัฒนาเฟส 0 คงที่ ซึ่งก้าวต่อไป Ethereum 2.0 จะจัดการกับปัญหาความสามารถในการปรับขนาดในอีกไม่กี่ขั้นตอนข้างหน้า เนื่องจากการขาดความสามารถในการปรับขนาดได้เป็นข้อเสียอย่างหนึ่งของเครือข่ายเนื่องจากมีการกำหนดแนวความคิดและให้บริการแก่นักพัฒนา หากสำเร็จและเปิดตัวได้ในที่สุด ราคา ETH มีแนวโน้มจะได้รับการกระตุ้นก่อนและหลังการใช้งานขั้นตอนใหม่ เนื่องจากนักลงทุนต้องตัดสินใจที่จะวางเดิมพันกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าตลาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกมากขึ้น
กระแสสนับสนุน Bitcoin – MicroStrategy, PayPal และอื่นๆ ของนักลงทุนสถาบันชั้นนำ
Grayscale Investments ซึ่งเป็นหนึ่งในนักลงทุนสถาบันลำดับต้นๆ ที่สนับสนุนบิทคอยน์ น่าจะเป็นฝ่ายที่ต้องดีใจแบบสุดๆ เมื่อพวกเขาก้าวเข้าสู่บิทคอยน์และแวดวงคริปโตก่อนที่มันจะได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในปี 2020 ที่ผ่านมา
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ Grayscaleจะได้รับรางวัลตอบแทนความศรัทธาในบิทคอยน์ในฐานะผู้ถือครองบิทคอยน์ ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีนักลงทุนสถาบันชั้นนำอื่น ๆ อย่าง MicroStrategy, MassMutual, Ruffer Investment, Mode Global, Square และอื่นๆ ตบเท้าตามเข้ามา โดยเฉพาะ MicroStrategyที่ออกตัวตามมาอย่างแรง ยืนยันได้จากการที่ซีอีโอของบริษัทอย่าง Michael Saylor ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งใน MVP ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของบิทคอยน์เพราะเดินหน้าเข้าซื้อบิทคอยน์อย่างจริงจังในช่วงปลายปี2020
ในส่วนของ PayPal การเริ่มต้นก้าวเข้ามาในตลาดบิทคอยน์ในเดือนพ.ย. ถือเป็นบทบาทสำคัญของบริษัทที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันให้ราคาของบิทคอยน์พุ่งขึ้นอย่างมาก โดยแพลตฟอร์มการชำระเงินชั้นนำที่เข้าถึงร้านค้าและผู้ใช้นับล้านทั่วโลกที่เข้ามาเปิดทางให้การเข้าถึงบิทคอยน์และและ altcoins รายใหญ่อื่น ๆ บนแพลตฟอร์มของตนง่ายดายขึ้น ทำให้ผู้ใช้ PayPal ในสหรัฐฯเริ่มซื้อขายจัดเก็บและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์บิทคอยน์ของตนผ่านแอปพลิเคชั่นของ PayPal เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งนี่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสกุลเงินดิจิทัลให้เข้าใจและใช้งานได้สะดวกง่ายดายขึ้น
สิ่งที่เราสามารถคาดหวังได้ในปี 2021 : บริษัทในภาคการเงินจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ตลาดคริปโตในปีนี้ ขณะที่บริษัทที่มีการลงทุนในคริปโตอยู่แล้วจะเพิ่มการถือครองบิทคอยน์ของตนมากขึ้นต่อไป กลายเป็นแรงกดดันต่อด้านซัพพลายของตลาดเนื่องจากจำนวน BTC ที่มีสภาพคล่องพร้อมซื้อขายและหมุนเวียนอยู่ในตลาดขณะนี้มีแนวโน้มจะลดลงอย่างมาก ขณะที่ PayPal จะขยายบริการคริปโตในประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมในปี 2021 นอกเหนือจากสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้มีการเร่งการนำคริปโตไปใช้งานทั่วโลกมากขึ้น
สถิติราคาสูงสุดระลอกใหม่ของ Bitcoin และ Ethereum
ความเคลื่อนไหวของบิทคอยน์ในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นไปด้วยดีและเหนือความคาดหมายของชุมชนซึ่งหวังเพียงให้สินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำตัวนี้สามารถรักษาตัวรอดจนแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่เคยทำไว้เมื่อเดือนธันวาคม 2017 ที่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ กระนั้น นักวิเคราะห์และผู้ค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกก็ไม่คาดคิดว่า all-time-high (ATH) ของบิทคอยน์จะพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 29,391 ดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ (1 ม.ค.) ตามรายงานของ CoinMarketCap
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้บิทคอยน์เพิ่มขึ้น มี 2 ปัจจัยหลักด้วยกันคือ หนึ่งเหตุการณ์ฮาล์ฟวิ่งของบิทคอยน์ในเดือนพ.ค. 2020 และสองคืกการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบันที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล ส่วนปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ความไม่มั่นคงทางการเมืองในสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆ ที่กำลังประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯที่นำมาตรการอัตราดอกเบี้ยติดลบมาใช้เป็นมาตรการหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการพิมพ์สกุลเงิ