fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ปริมาณการซื้อขายบิทคอยน์แบบ P2P ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอเมริกาใต้และแอฟริกา

บิทคอยน์นั้นถูกออกแบบมาให้เป็นเงินที่ใช้กันเองระหว่างประชาชนดังเช่นชื่อของ Whitepaper ของบิทคอยน์ที่เรียกว่ามันเป็น Peer-to-Peer Electronic Cash System โดยออกมาแบบให้ผู้คนสามารถรับส่งและแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลกันเองได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางอย่างธนาคารหรือรัฐบาล

แม้ในปัจจุบันการซื้อขายบิทคอยน์จะสามารถทำได้ง่ายขึ้นจากเว็บไซต์ซื้อขายเงินคริปโตเคอเรนซี่หรือ Exchange ที่มีอยู่มากมาย แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังนิยมซื้อขายบิทคอยน์ด้วยเว็บแบบ Peer-to-Peer (P2P) อย่างเช่น Localbitcoins หรือ Paxful อยู่

ล่าสุด ปริมาณการซื้อขายบิทคอยน์แบบ P2P พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เมื่อต้นปี 2018 ที่เป็นช่วงพีคของราคาบิทคอยน์ โดยมีวอลุ่มถึง 95 ล้านดอลลาร์ถูกแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดิจิทัลและเงินกระดาษบนเว็บไซต์ P2P ชื่อดังทั้งสอง Localbitcoins และ Paxful

โดยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นมาจากผู้ใช้ในภูมิภาคละตินอเมริกาโดยเฉพาะประเทศที่กำลังประสบปัญหาเงินด้อยค่าและสภาวะเศรษฐกิจล้มเหลวอย่างเช่นอาร์เจนตินาและบราซิล

อ่านเพิ่มเติม: ปริมานการซื้อขายบิทคอยน์ในอาร์เจนตินาและบราซิลพุ่ง หลังมูลค่าเงินด้อยค่าลงต่อเนื่อง

ผู้นำในกลุ่มละตินอเมริกายังคงเป็นประเทศเวเนซูเอลาที่มีมูลค่าการซื้อขายถึง 13 ล้านดอลลาร์ในรอบหนึ่งสัปดาห์ ตามมาด้วยโคลอมเบีย อาร์เจนตินา และเปรู

นอกจากนี้ทวีปแอฟริกาก็มีปริมาณการซื้อขายผ่านเว็บไซต์ P2P เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำโดยประเทศไนจีเรียที่มีวอลุ่มรายสัปดาห์สูงสุดถึง 18 ล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยเคนย่าที่ 3.6 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อย่างแอฟริกาใต้ กาน่า บอตสวานา แซมเบีย และซูดาน ต่างมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย

ในฝั่งของทางทวีปเอเชียนั้น อินเดียก็มีปริมาณการซื้อขายบิทคอยน์แบบ P2P ทะลุ 4 ล้านดอลลาร์ในรอบสัปดาห์เป็นครั้งแรกเช่นกัน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: ค่าความสัมพันธ์ทางราคาระหว่างทองคำและบิทคอยน์แตะจุดสูงสุดตลอดกาล

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN