ทางการของสหรัฐฯเคยใช้ความพยายามในการขัดขวางการเติบโตของอุตสาหกรรมเงินดิจิทัล โดยเมื่อปี 2019 ทางกรมสรรพากรของสหรัฐฯ (IRS) เคยถึงกับร่อนจดหมายหาผู้ใช้คริปโตเคอเรนซี่ให้มาทำการแจงแจกและเปิดเผยจำนวนเงินคริปโตที่ตนถืออยู่กับทางรัฐฯ
ขณะที่ทาง ก.ล.ต สหรัฐฯ (US SEC) ก็ทำงานอย่างแข็งขันในปี 2020 นี้โดยการไล่เช็คบิลบริษัทคริปโตที่ออกขาย ICOs โดยไม่ได้รับใบอนุญาตระหว่างปี 2017 และ 2018 ที่ผ่านมา โดยทาง Telegram ก็โดนหางเลขไปด้วยและจำต้องคืนเงินให้แก่นักลงทุนในสหรัฐฯทั้งหมด
ล่าสุด ทางการยังได้ยกระดับการตรวจสอบไปอีกขั้นโดยเปิดว่าจ้างบริษัทนักพัฒนาหามาวิธีการแกะรอยและตรวจสอบเหรียญที่มีความเป็นส่วนตัวสูงทั้งหลาย หรือที่เรียกกันว่า Privacy Coins เช่น ZCash และ Monero อีกด้วย
ฝ่ายสืบสวนอาชญากรรมหรือ CID รับหน้าที่เฝ้าระวังและสืบสวนคดีและอาชญากรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล โดยทางฝ่ายฯได้ระบุจุดอ่อนสองในขั้นตอนการสืบสวนคดีเงินดิจิทัลไว้ว่า “ทางการไม่สามารถทำการติดตามธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Layer อื่น ๆ หรือการทำธุรกรรมผ่าน Side Chain และธุรกรรมที่ทำผ่านบล็อกเชนที่มีความเป็นส่วนตัวสูงได้” โดยหากสามารถเจาะข้อมูลในส่วนนี้ได้จะเป็นการช่วยปราบปรามและทำให้การติดตามกิจกรรมผิดกฎหมายสามารถทำได้ง่ายขึ้น
ขณะนี้ทาง CID กำลังหาโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแกะรอยในด้านต่าง ๆ แม้ในปัจจุบันจะมีระบบติดตามข้อมูลบนบล็อกเชนมากมายเช่น Lndmon ที่พัฒนาโดย Lightning Labs หรือเครื่องมือที่บริษัทวิเคราะห์บล็อกเชนอย่าง Chainanalysis ใช้ แต่ทาง CID กำลังกังวลกับการใช้ระบบลายเซ็น Schorr Signature ที่ไม่อนุญาติให้ผู้อื่นสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ และระบบนี้สามารถติดตั้งเพื่อใช้กับ Bitcoin (BTC) และ Bitcoin Cash (BCH) ซึ่งเป็นคริปโตเคอเรนซี่ที่ได้รับความนิยมมากอีกด้วย อันจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการตรวจสอบของทางรัฐฯลดลงไปอย่างมาก
โดยทางการได้เปิดโอกาสให้บริษัทหรือปัจเจกชนที่มีความสามารถในการสร้างโซลูชันเจาะระบบความปลอดภัยเหล่านี้ยื่นใบสมัครกับทาง CID ได้โดยตรงอีกด้วย
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: ผู้ก่อตั้ง EOS กระโดดลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิปดีสหรัฐอเมริกา!