ในวงการเงินดิจิตอลเราจะเรียกนักลงทุนรายใหญ่ที่ถือครอง บิทคอยน์ หรือเงินดิจิตอล บนหน้าตักจำนวนมากๆว่าปลาวาฬ ในการลงทุนเราจะเรียกคนเหล่านี้ว่านักลงทุนรายใหญ่หรือบางครั้งก็เป็น “เจ้ามือ” คนกลุ่มนี้เวลาที่ขยับตัวจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ที่ถืออยู่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
รายงานล่าสุดของ Bitcoin IntoTheBlock เผยว่า มีวาฬ 39 ตัวที่ครอบครอง 11.1% ของ บิทคอยน์ที่มีอยู่ทั้งหมด และมีวาฬ 154 ตัวครอบครอง 40% ของ Ethereum ทั้งหมด และมีวาฬ 128 ตัวที่ครอบครอง 47% ของ Litecoin ทั้งหมด ขณะเดียวกัน Circulating Supply ของ Tether มากกว่าครึ่งหนึ่ง อยู่ในมือของกระเป๋าต่างๆ เพียง 140 ใบเท่านั้น
แม้ว่าบิทคอยน์จะสามารถตรวจสอบธุรกรรมย้อนกลับได้ แต่ตัวตนของที่อยู่กระเป๋าวาฬส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่เป็นที่เปิดเผยแน่ชัดและมีความคลุมเครืออย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นของนักลงทุนในรายใหญ่รุ่นบุกเบิก และมีบางส่วนที่เป็นของเว็บเทรดสกุลเงินดิจิตอลต่างๆ
ข้อดีของการที่มีปลาวาฬหรือนักลงทุนรายใหญ่ถือครองสินทรัพย์นั้นๆอยู่ก็คือเสถียรภาพของราคา เนื่องจากนักลงทุนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือซื้อๆขายๆมากนัก ต่างจากนักลงทุนรายย่อยที่มักจะซื้อขายเร็วเก็งกำไรระยะสั้นจนทำให้ราคาผันผวน
ข้อเสียก็คือหากวาฬมีการขยับตัวราคาจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีนัยยะสำคัญ เช่นราคาถูกกระชากขึ้นอย่างรวดเร็วหรือถูกเทขายอย่างรวดเร็ว ซึ่งรายย่อยที่ตามเข้าไปอาจะขาดทุนได้ และถ้ามีวาฬเพียงไม่กี่ตัวที่ถือครองสินทรัพย์มากกว่า 50% ขึ้นไป คนกลุ่มนี้จะมีโอกาสเป็นผู้ควบคุมราคา (Manipulate) ได้
จับตาการ Breakout ครั้งสำคัญของบิทคอยน์
จากภาพจะเห็นว่านับตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน 2019 ราคาบิทคอยน์เป็นขาลงมาโดยตลอด (เส้นเทรนด์ไลน์สีเหลือง) โดยมีความพยายามที่จะ Breakout มาหลายรอบแต่ยังไม่สำเร็จ ถ้าหากรอบนี้ผ่านไปได้ถึงจะมั่นใจได้ว่าบิทคอยน์หยุดการเป็นขาลงซึ่งอาจจะเคลื่อนตัวออกข้างไปก่อนหรือพลิกเป็นขาขึ้นทันทีก็มีความเป็นไปได้ทั้งหมด
แนวรับสำคัญยังอยู่ที่ 6,500 เหรียญ หากรับไม่อยู่ก็อาจลงไปถึง 5,000 เหรียญ แนวต้านสำคัญคือระดับ 9,300 เหรียญ ตามแนวไฟโบนาชี
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : ราคาบิทคอยน์พุ่งขึ้นทะลุ $8,000 อีกครั้ง หรือว่าครั้งนี้จะขึ้นยาว?