fbpx
Skip to content Skip to footer

ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในอาเซียนได้หรือไม่?

สินทรัพย์ดิจิทัล

หลังจากสำนักงาน ก.ล.ต.ได้รับรองใบอนุญาต ICO Portal ให้กับผู้ประกอบการจำนวนสามราย นั่นคือ SEDigital,T-Box และ Longroot รวมถึงรับรองใบอนุญาตศูนย์กลางซื้อขาย สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Exchange เพิ่มเติมให้กับ Huobi Thailand,Zipmex รวมถึงโบรกเกอร์น้องใหม่อย่าง Bitcazza ทำให้เวลานี้วงการบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยคึกคักขึ้นอย่างมาก

รายละเอียด พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล คลิ๊กที่นี้

ไม่นานจากนี้ ประเทศไทยเราจะมีการระดมทุนด้วยวิธีการ ICO ทั้งรูปแบบ Utility Token และ Investment Token เกิดขึ้นภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเป็นทางการหลังจากที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปลายปี 2561 โดยผู้ที่เป็น ICO Portal บางรายได้เริ่มต้นการเป็นที่ปรึกษาระดมทุนโทเคนดิจิทัลให้กับลูกค้าแล้ว  คาดว่าดีลแรกน่าจะมีมูลค่าหลักพันล้านบาทขึ้นไป โดยจะมีสินทรัพย์หนุนหลังคือโครงการอสังหาริมทรัพย์

คำนวนจากระยะเวลาที่ ICO Portal ดำเนินการทางเอกสารและ Due Delligence ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ภายในกลางปีนี้จะเกิดการเสนอขายโทเคนดิจิทัลให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ส่วนจะเป็นดีลไหนต้องรอดูไปอีกนิดเพราะยังไม่มีรายใดประกาศอย่างเป็นทางการ

หากดูจากความคืบหน้าดังกล่าว ประเทศไทยถือได้ว่ามีความคืบหน้ามากที่สุดของภูมิภาคอาเซียนในการผลักดันอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เกิดขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ เนื่องจากประเทศอื่นๆในภูมิภาคบางแห่งยังไม่มีความชัดเจนทางด้านกฎหมายอย่างเช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งหากกฎหมายออกมาควบคุมภายหลังอาจทำให้การดำเนินการที่ค้างคาอยู่สะดุดลงไปได้

ส่วนมาเลเซีย สำนักงานกำกับหลักทรัพย์ฯเพิ่งจะประกาศกฎหมายรับรองการระดมทุนโทเคนดิจิทัลแบบ IEO ซึ่งผู้ระดมทุนจะต้องดำเนินการผ่าน Exchange ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์ฯแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งประกาศไม่นานนี้ว่าเวบเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลทุกรายต้องมาขอใบอนุญาต เท่ากับว่าผู้ที่ระดมทุน ICO ด้วยตัวเองจะอยู่ในสถานะผิดกฎหมายทันที ระเบียบดังกล่าวจะเริ่มใช้เป็นทางการในไตรมาสที่สอง

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : มาเลเซีย ประกาศกฎหมายระดมทุน IEO พร้อมแบนโปรเจค ICO ทั้งหมด

ด้านประเทศสิงคโปร์ ซึ่งวางตัวอยู่ตรงกลางระหว่างการสนับสนุนเทคโนโลยีและการกำกับดูแล ได้ให้การสนับสนุนเรื่องของการระดมทุน STO เช่นกัน โดยทาง MAS ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับด้านการเงินของสิงคโปร์ได้ผ่อนคลายนโยบายการระดมทุนด้วยวิธีการ STO ลง จากเดิมที่จะต้องใช้กระบวนการเดียวกับการระดมทุนหลักทรัพย์ปกติซึ่งจะใช้ระยะเวลาพิจารณาที่นานมาใช้ระยะเวลาที่ลดลง

อย่างไรก็ตามสิงคโปร์ไม่ได้มีทรัพยากรเป็นของตัวเองมากนัก จึงทำหน้าที่เป็นได้เพียงแค่ศูนย์กลางของการให้คำปรึกษาการระดมทุนเท่านั้น ต่างจากไทยที่มี Real Sector และทรัพยากรในการที่จะ Tokenize สินทรัพย์ให้เป็นโทเคนดิจิทัได้จำนวนมาก

ประเทศไทยจึงอยู่ในสถานะที่สามารถผลักดันตัวเองให้ขึ้นเป็นศูนย์กลางของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนได้เพราะมีความพร้อมทั้งทางด้านกฎหมายและทรัพยากร

ประเด็นสำคัญอยู่ที่เรื่องของ “ภาษี” เพราะพ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ได้ระบุว่าผู้ระดมทุนจะต้องเสียภาษี VAT7% และ Capital Gain Tax อีก 15% ประเด็นนี้อาจทำให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลของเราไปได้ไม่ไกลนัก เพราะโครงสร้างการระดมทุนรุปแบบเก่าได้รับการยกเว้นภาษีเป็นส่วนใหญ่ แม้รูปแบบใหม่จะมีความสะดวกรวดเร็วต้นทุนต่ำ แต่หากต้องเสียภาษีที่สูงเกินไปจะไม่มีแรงจูงใจให้เกิดการระดมทุน

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN