fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Chainanlysis เผย บิทคอยน์กว่า 11.4 ล้าน BTC อยู่ในมือของนักลงทุนระยะยาว

จากผลวิจัยใหม่ของ Chainanlysis เผยว่า บิทคอยน์ส่วนใหญ่ถูกถือไว้เพื่อการลงทุนระยะยาวโดยมีจำนวนกว่า 11.4 ล้าน BTC หรือกว่า 62% จากบิทคอยน์ที่ออกมาแล้วทั้งหมด (ประมาณ 18.4 ล้าน BTC)

Image Source: Chainanalysis

บิทคอยน์เพื่อการลงทุนระยะยาวดังกล่าวถูกถือไว้โดยนักลงทุนหรือภาคธุรกิจที่ไม่เคยขายบิทคอยน์มากกว่า 25% ของจำนวนที่พวกเขาถืออยู่ และมักจะถือไว้ยาวนานเป็นเวลาหลายปี แตกต่างจากนักเทรดที่ทำการซื้อขายแทบทุกวัน

โดยอีกกว่า 3.7 ล้าน BTC ไม่เคยขยับเลยในช่วงเวลาห้าปีขึ้นไป ทาง Chainanlysis ตีไปว่าบิทคอยน์ส่วนนี้ว่าสูญหาย ไม่ว่าจะเป็นจากการที่เจ้าของเสียชีวิต หรือลืม Private Key เพื่อนำบิทคอยน์ออกมาจากบล็อกเชนก็ตาม และนี่ยังรวมไปถึงบิทคอยน์กว่า 1.1 ล้าน BTC ที่ Satoshi Nakamoto ได้ทำการขุดไปในช่วงเริ่มแรกด้วยเช่นกัน

นั่นทำให้เหลือเพียงอีก 3.5 ล้าน BTC หรือเพียง 19% จากบิทคอยน์ที่มีอยู่ในระบบ ที่ถูกใช้ในการเทรดและมีการขยับไปมาระหว่างเว็บเทรดต่าง ๆ เป็นประจำ

เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของบิทคอยน์ที่อยู่ในมือนักเทรดแล้ว Chainanalysis พบว่า แม้นักเทรดรายย่อยจะถือเป็นสัดส่วนใหญ่กว่า 96% ของการทำธุรกรรม แต่นักเทรดมือโปรหรือเหล่าวาฬต่างหากที่เป็นคนกำหนดราคา

“แม้นักเทรดรายย่อย หรือผู้ที่เทรดบิทคอยน์จำนวนน้อยกว่าครั้งละ 1 หมื่นดอลลาร์ (ประมาณ 3.1 แสนบาท) จะถือเป็นส่วนใหญ่ของปริมาณจำนวนครั้งในการทำธุรกรรมผ่านเว็บเทรด แต่นักเทรดมือโปรต่างหากที่เป็นคนควบคุมราคา โดย 85% ของบิทคอยน์ทั้งหมดที่ถูกส่งเข้า-ออกจากเว็บเทรดอยู่ในมือคนเหล่านี้”

Image Source: Chainanlysis

นอกจากนี้ จากบิทคอยน์ 11.4 ล้าน BTC ที่อยู่ในมือนักลงทุนระยะยาวนั้น กว่า 60% ถูกฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (VASPs) ซึ่งรวมไปถึงเว็บเทรดต่าง ๆ ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างเช่น Coinbase ที่เก็บรักษาบิทคอยน์กว่า 1 ล้าน BTC ให้แก่ลูกค้าอยู่ ณ ปัจจุบัน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: อดีตที่ปรึกษาความมั่นคงสหรัฐฯแฉ! ทรัมป์เคยสั่ง รมต.กระทรวงการคลังให้ “เล่นงานบิทคอยน์”

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN