fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ธนาคารแห่งประเทศไทยเล็งใช้สกุลเงินบาทดิจิทัลกับ DeFi

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังพิจารณาประเมินโอกาสปรับใช้ Smart Contract และระบบ Decentralized Finance (DeFi) เพื่อยกระดับสกุลเงินบาทดิจิทัลของประเทศไทยให้ก้าวไปอีกขั้น 

ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของการออกสกุลเงินบาทดิจิทัลของนาย วิจักขณ์ เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายตลาดการเงินและนักพัฒนาอาวุโสของโครงการอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่จัดโดย Official Monetary and Financial Institutions Forum (OMFIF) เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ทั้งนี้นาย วิจักขณ์ เผยว่า ธนาคารกล่างกำลังติดตามดูพัฒนาการของอุตสาหกรรม DeFi ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีทางการเงินที่เปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมีอำนาจในการตรวจสอบและจัดการเงินดิจิทัลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องหาทางแก้ไขปัญหาใน 2 ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับ DeFi คือการระบุอัตลักษณ์ของลูกค้าและนโยบายความเป็นส่วนตัวก่อนที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติของไทยได้ 

  ขณะเดียวกัน สกาย กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cypherium บริษัทด้านบล็อกเชนในนิวยอร์ก ซึ่งให้ความสนใจกับการดำเนินการและประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางทั่วโลก ได้ร่วมแสดงความเห็นว่า ขอบเขตอำนาจทางกฎหมายของนานาประเทศสามารถหยิบยืมโมเดลของ DeFi มาใช้เพื่อเปิดทางให้หน่วยงานบริษัทที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีทรัพย์สินจริงอย่างหุ้นและอสังหาริมทรัพย์หนุนหลังเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ (CBDC) ได้ โดย กัว เชื่อว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก 

ระหว่างการให้สัมภาษณ์ วิจักขณ์ กล่าวย้ำว่า การนำ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะมาใช้นั้นเป็นขั้นตอนสำคัญต่อไปของโครงการอินทนนท์

“เราได้ศึกษาการทำงานของ Smart Contract ตามที่ สกาย ได้อธิบาย โดยทำการจำลองวัฎจักรวงจรของพันธบัตรที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้ และยังมีฟังก์ชันที่คล้ายกับการจำนำให้ผู้ถือพันธบัตรสามารถขายและกลับมาซื้อคืนในภายหลังได้” วิจักขณ์ เศรษฐบุตร กล่าว

ความเห็นจากฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางกระแสความนิยมของอุตสาหกรรม DeFi ที่เพิ่มมากขึ้น โดยมันถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างระบบการเงินขึ้นมาบนแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์อันอยู่นอกเหนือการควบคุมจากบริษัทหรือรัฐบาล โดยอุตสาหกรรม DeFi ขยายตัวทุบสถิติเป็นประวัติการณ์ในปีนี้หลังบริษัทเอกชนทั่วโลกต่างเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์คริปโตมากขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเว็บไซต์ Defipulse เผยข้อมูลว่า มูลค่าสินทรัพย์ที่ถูกล็อกไว้บนระบบ DeFi แตะจุดสูงสุดใหม่ในประวัติศาสตร์ที่ 5,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทดลองการใช้ CBDC ในการทำธุรกรรมกับบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ไปแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และกำลังก้าวเข้าสู่ขั้นต่อไปด้วยการวางแผนเตรียมขยายขอบเขตการใช้สกุลเงินดิจิทัลในการทำธุรกรรมกับธนาคารกลางฮ่องกงอีกด้วย

Cover Image Courtesy: Thairath.co.th

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: “อินทนนท์” หรือเงินบาทดิจิทัลเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตคนไทย

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN