ขณะที่หลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนอย่างไทยและสิงคโปร์มีกฎหมายและมุมมองที่ค่อนข้างบวกต่อสินทรัพย์ดิจิทัลและคริปโตเคอเรนซี่ อีกหนึ่งเพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซียนั้นมีความเห็นอย่างไรต่ออุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้ ที่ปรึกษาธนาคารกลางของมาเลเซียได้ออกมาให้ความเห็นในงาน SCxSC Fintech ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา
หลังจากอนุญาตให้มีการซื้อขายคริปโตเคอเรนซี่ได้ตามกฎหมายอิสลาม(ชารีอะห์)ไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ล่าสุด ดร. Modh Daud Bakar ที่ปรึกษาธนาคารกลางของมาเลเซียได้เผยว่า แม้จะมีชาวมาเลย์เพียง 2% เท่านั้นที่มีความรู้เกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี่ และภายใต้หลักศาสนาอิสลาม คริปโตยังไม่ถือเป็นตัวแทนของเงินที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่อาจมองได้ว่ามันเป็นสินค้าประเภทโภคภัณฑ์เหมือนกับทองคำและแร่เงิน
“มัน (คริปโตเคอเรนซี่) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แม้มันจะถูกมองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แต่เราก็ไม่สามารถห้ามให้คนใช้สินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้”
การเปิดรับสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้จะก่อให้เกิดความพัฒนาใหม่ ๆ ทางการเงินในประเทศมาเลเซีย นาย Bakar ชี้ว่า “ศักยภาพของเงินคริปโตนั้นมีมากขึ้นตามตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลของโลกที่กำลังเติบโตอยู่ตลอดเวลา”
แม้คำถามที่ว่าคริปโตเคอเรนซี่นั้นถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายชี้ว่า เงินคริปโตนั้นถูกต้องตามหลักศาสนามากกว่าเงินกระดาษ (Fiat) เสียอีก เพราะอย่างน้อยมันก็ต้องมีการลงแรงเพื่อที่จะได้มา ไม่เหมือนกับเงิน Fiat ที่ตั้งอยู่บนหลักการของการสร้างหนี้”
หมายเหตุ* : อิสลามมีความเชื่อว่าหนี้สิ้นจำเป็นต้องถูกชดใช้เสมอ โดยวิญญาณจะถูกกักไว้ไม่ให้ขึ้นสวรรค์ก่อนหนี้สินทั้งหมดที่กู้ยืมมาจะถูกชดใช้ ต่างหากหลักของเงิน Fiat ที่ใช้หนี้ต่อหนี้ และสร้างเงินใหม่ขึ้นมาจากหนี้ในอนาคต
ในขณะนี้ประเทศมาเลเซียมีเว็บเทรดหรือ Exchange ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายทั้งหมดสามแห่ง ประกอบไปด้วย Luno, Tokenize และ Sinegy Technologies นอกจากนี้ Binance ยังรองรับสกุลเงินริงกิตของมาเลเซียอีกด้วย
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: ผู้ว่าธนาคารกลางจีน ประกาศผลการทดสอบโครงการนำร่อง “ดิจิทัลหยวน” แล้ว