fbpx
Skip to content Skip to footer

ญี่ปุ่นเร่งออกสกุลเงินดิจิตอลประจำชาติแข่งกับจีน

มีรายงานข่าวจากเว็บไซต์ข่าวธุรกิจและการเงิน Reuters ถึงฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาลประเทศ ญี่ปุ่น ที่กำลังเร่งมือและผลักดันวาระของการสร้างสกุล เงินดิจิตอล ประจำชาติ (CBDC) โดยแรงกระตุ้นของโครงการนี้มาจากทั้งเหรียญ Libra ที่ออกโดย Facebook และรวมไปถึงแนวโน้มในการเร่งพัฒนาสกุลเงินประจำชาติของประเทศจีน (DCEP)

มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดแผนงานการเร่งพัฒนาโครงการสร้างสกุลเงินดิจิตอลประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการร่วมมือระหว่างทางรัฐบาลและบริษัทเอกชนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินให้สอดคล้องกับการเปลื่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกรรมการเงินทั่วโลก

โดยนาย Norihiro Nakayama รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ทั้ง Libra และข่าวการมาของเงินดิจิตอลจีน เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เราตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของเงินดิจิตอลเที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยเราเองก็ต้องเร่งมือเพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยีและกระแสโลก

ในอดีตที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นมีท่าทีที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการสร้างสกุลเงินดิจิตอลประจำชาติ (CBDC) จากปัจจัยหลายๆอย่างที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น ปัจจัยทางด้านเทคนิคและช่องว่างทางกฎหมาย แต่หลังจากแนวโน้มของกระแสโลกที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการเงินทำให้ทุกๆประเทศต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้และประโยชน์ในการนำมาปรับใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรกับธนาคารกลางจากอีก 6 ประเทศ เพื่อร่วมกันศึกษาและวิจัยในการออกสกุลเงินดิจิตอลประจำชาติให้สำเร็จ

อย่างไรก็ตามทั้งประเทศจีนและญี่ปุ่นก็ต่างมีเหตุผลและปัจจัยที่แตกต่างกันในการพิจารณาโครงการออกสกุลเงินดิจิตอลประจำชาติของตนเอง โดยสำหรับประเทศจีนนั้นมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าเงินหยวนบนตลาดโลก ในขณะที่ญี่ปุ่นนั้นต้องการปรับเปลื่ยนพฤติกรรมในการทำธุรกรรมของประชาชนเพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society นั่นเอง

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : อดีตผู้บริหารธนาคารกลางญี่ปุ่นเผย Libra คือผู้สะกิดธนาคารกลางทั่วโลกให้ออกสกุลเงินดิจิตอล (CBDC) เป็นของตัวเอง

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN