ธนาคารกลางซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เปิดเผยผลสรุปโครงการทดลองนำร่องการใช้เงินสกุลดิจิทัลข้ามพรมแดน ซึ่งมีผลต่อการยกระดับระบบ Distributed Ledger Technology (DLT) และตอบสนองต่อความรต้องการความเป็นส่วนตัวทางด้านการเงินได้เป็นอย่างดี
รายงานระบุว่า โครงการ Aber เริ่มต้นดำเนินการในปี 2019 โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “Azzam” ซึ่งเป็นข้อตกลงระดับทวีภาคีของซาอุดิระเบียและUAE เพื่ออำนวยความสะดวกในความรวมมือด้านดิจิทัลต่างๆ ของสองประเทศ
โดย Aber เป็นคำในภาษาอารบิกที่สื่อความหมายถึง “การข้ามพรมแดน” ซึ่งตอบโจทย์ความคาดหวังของโครงการความร่วมมือข้ามพรมแดนในแง่ของเทคโนโลยี
แม้ว่าธนาคารกลางของสองประเทศจะเห็นตรงกันว่า โครงการสกุลเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนนี้ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยอีกมาก กระนั้น โครงการดังกล่าวทำให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับ CBDC และเทคโนโลยี DLT ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งซาอุดิอาระเบีย กับ UAE จำเป็นต้องเดินหน้าพัฒนาต่อ โดยโครงการนำร่องดังกล่าวยังอิงกับผลการทดลอง CBDC ในแคนาดา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
รายงานระบุว่า โครงการนำร่องเงินดิจิทัลกลางข้ามพรมแดนครั้งนี้ นอกจากธนาคารกลางของสองประเทศแล้ว ยังมีธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นอีก 6 แห่งเข้าร่วม พร้อมเงินสดสำรองที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง และสร้างบนระบบบล็อกเชนของ Hyperledger Fabric ที่ผูกเข้ากับระบบ Linux Foundation และ IBM ขณะที่การพิจารณาผลดำเนินการ จะมี Quorum ของ JPMorgan และ
R3’s Corda DTL ร่วมด้วย
รายงานระบุว่า บล็อกเชน โปรโตคอล สาธารณะอย่าง Ripple และ Stellar ที่มักนำมาใช้ในกรณีการโอนเงินข้ามพรมแดนไม่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับโครงการนำร่องครั้งนี้ เนื่องจากต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างชัดเจนในการใช้สำหรับการชำระเงินระหว่างธนาคาร ซึ่งระบบบล็อกเชน โปรโตคอลที่ว่าไม่รองรับความต้องการดังกล่าว
แม้ว่า โครงการ Aber จะบรรลุผลด้านประสิทธิภาพในระดับสูง โดยที่ไม่ลดทนอความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน แต่บรรดาทีมผู้ดำเนินการทดสอบใในโ๕รงการดังกล่าวตั้งข้อสังเกตว่า โครงการมีปัญหาด้านขอบเขตทางกฎหมายในช่วงแรกๆ
รวมถึงข้อกังวลด้านอื่นๆ ของการใช้บล็อกเชน กับปัญหาด้านกฎหมาย การเมืองและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ
SOURCE
https://www.supercryptonews.com/bilateral-saudi-uae-digital-currency-experiment-reveals-distributed-ledger-benefits/