- ผู้ประกอบการธุรกิจล่องเรือสำราญต่างมั่นใจว่าธุรกิจของพวกเขาจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ค่าน้ำมันและค่าแรงจะเป็นแรงกดดันต่อสัดส่วนผลกำไร
- ความเคลื่อนไหวในหุ้นของบรรดาบริษัทเดินเรือเป็นไปอย่างน่าชื่นชมสอดคล้องกับการฟื้นตัวของ “มูลค่า” กระนั้น อัตราเงินเฟ้ออาจกระทบกับอุปสงค์เนื่องจากผู้โดยสารเรือสำราญยังคงอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของราคา
เมื่อเกิดไวรัสโควิด-19 ระบบาดระลอกแรก พระราชวังลอยน้ำอันแสนยิ่งใหญ่กลับกลายเป็นเพียงเรือนจำฝังทองคำ แสดงให้เห็นเพียงความเสื่อมโทรมและความหรูหราที่เกินจำเป็นของการล่องเรือ
ราวกับภาพสุดท้ายของวันสิ้นโลก ที่โลกใบนี้ฉาบย้อมด้วยความสยดสยอง ขณะที่เรือสำราญทั้งลำซึ่งอัดแน่นไปด้วยผู้โดยสารและลูกรือหลายพันคนถูกปฎิเสธไม่ให้จอดเทียบท่า ประหนึ่งเป็นวาระที่จะต้องท่องไปในทะเลและไม่มีวันขึ้นฝั่งได้อีก
สองปีผ่านไป ภาพที่น่ากลัวเหล่านั้นเหมือนจะเป็นความทรงจำที่ห่างไกล เมื่อเดือนที่แล้ว เรือสำราญขนาดใหญ่ 18 ชั้น จุผู้โดยสารและลูกเรือได้มากกว่า 7,000 ชีวิตอย่าง Wonder of the Seas เรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ฤกษ์ออกเดินทางท่องมหาสมุทรอีกครั้ง
Wonder of the Seas ภายใต้การบริหารดำเนินการและเป็นเจ้าของโดย Royal Caribbean สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริหารสายการเดินเรือที่มีต่อแนวโน้มของอุตสาหกรรม หลังจากที่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาต้องรับมือกับความตาย สภาพที่เลวร้ายจากการกักกันบนเรือ และการสูญเสียหลายพันล้านครั้ง
และสถานการณ์ดูจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
ตามรายงานของ Carnival คู่แข่งคนสำคัญของ Royal Caribbean ระบุว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีการจองสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 50 ปี และในเดือนหน้า เรือลำสุดท้ายในกองเรือจำนวน 23 ลำจะกลับมาให้บริการอีกครั้งหลังถูกกักบริเวณเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบของการมองโลกในแง่ดี ความกังวลยังคงอยู่ที่การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการล่องเรือ
ค่าเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้น กินเข้าไปอยู่ในส่วนต่าง และมีการขาดแคลนแรงงาน เช่นเดียวกับการติดเชื้อ coronavirus ที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง
อีกทั้งไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรงในช่วงฤดูท่องเที่ยวที่สำคัญในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าทำการจองเรือสำราญมากที่สุด
แต่นั่นไม่ได้หยุดนักลงทุนจากการแย่งชิงหุ้นของบริษัทล่องเรือ ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวที่เรียกว่า “มูลค่า”
ทั้งนี้ ขณะที่ดัชนี S&P 500 ประสบปัญหาในปีนี้ หุ้นของผู้ให้บริการเรือสำราญ เช่น Norwegian Cruises, Carnival Corporation และ Royal Caribbean Cruises กลับประสบความสำเร็จอย่างมาก สวนทางกับหุ้นอีกหลายๆ ตัวในตลาด โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี
แถมทางศูยน์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐฯ ยังช่วยส่งเสริมด้วยการยกเลิกคำแนะนำที่ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเรือสำราญเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
แนวโน้มของความต้องการในทางบวกยังมองเห็นได้จากรายได้ต่อวันของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอีกต้วย โดยเป็นรายได้ที่รวมทุกอย่างไว้ตั้งแต่ค่าอาหาร สปา และความบันเทิงต่างๆ
แต่การรุกรานยูเครนของรัสเซียทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้น โดยที่ค่าอาหารพุ่งสูงขึ้น และแรงกดดันต่อค่าแรงที่บีบให้ผู้ประกอบการเรือสำราญขึ้นเงินเดือนพนักงาน ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง
และในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อคืบคลานเข้ามา การใช้จ่ายโดยดุลยพินิจในสิ่งต่าง ๆ เช่นการล่องเรือก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยที่สหรัฐฯ จะต้องแข่งขันกับการขึ้นราคาที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี
อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถของผู้ให้บริการเรือสำราญในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนราคาถูก ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับนักลงทุนอีกระดับหนึ่ง
ดังนั้นเหล่านักลงทุนที่ต้องการเดิมพันกับการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมการล่องเรืออาจพบว่าการเดินเรือไม่ราบรื่นอย่างที่หวัง