ธนาคารกลางสาธารณรัฐประชาชน จีน ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของ สิทธิบัตร ใหม่มากกว่า 80 ฉบับ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการวางพื้นฐานและเตรียมความพร้อมให้กับโครงการการออกสกุลเงินดิจิทัลหยวนโดยธนาคารกลางเองหรือที่รู้จักกันในชื่อ DCEP
อ้างอิงจาก Financial Times ได้มีรายงานถึงการยื่นจดสิทธิบัตร 84 ฉบับ โดย People’s Bank of China (PBOC) หรือธนาคารกลางจีน โดยมีรายละเอียดในการควบคุมการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ CBDC ที่จะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบโพรโตคอลที่ทำหน้าที่ควบคุมการออกเหรียญดิจิทัล รวมไปถึงกรอบแผนการดำเนินการในการวางพื้นฐานและบูรณาการในการปรับตัวของธนาคารเอกชนรวมถึงร้านค้าและบริการต่างๆให้เกิดเป็น Ecosystem ที่จะทำให้สามารถใช้ CBDC ในการทำธุรกรรมทดแทนเงินสดได้อย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้ยังมีสิทธิบัตรฉบับอื่นๆที่ส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงเงินดิจิทัลได้ง่ายขึ้น เช่น การอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถนำเงินสดเข้าฝากและถอนออกเป็นเงินดิจัทัลได้ในทันที โดยจะมีการสร้าง Wallet สำหรับเก็บเงินดิจิทัล รวมไปถึงบัตรเงินสดที่ใช้เงินดิจิทัลเป็นตัวกลางแทนเงินสดได้อีกด้วย
จีนกระตุกหนวดเสือ: อเมริกาเริ่มตื่นตัว
การเคลื่อนไหวในโครงการ CBDC ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการกระตุ้นต่อธนาคารกลางทั่วทั้งโซนยุโรปและยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกา จากการที่เงินดิจิทัลหยวนอาจถูกในการนำไปกับประเทศเล็กๆที่อยู่ภายใต้อิธิพลของจีน ทำให้เหล่าประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจย้อนกลับมาตระหนักถึงความสำคัญและเร่งวางแผนในการดำเนินการโครงการดังกล่าวเพื่อให้เท่าทันจีน
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Jerome Powell ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้มีการกล่าวถึงโครงการอย่าง Libra ของ Facebook และ DCEP ซึ่งเป็น CBDC ของประเทศจีน ล้วนเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ CBDC จุดกระแสในวงการการลงทุนและการเงินที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาการทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัลที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากกว่าเดิม
ทางฝั่งเอชียก็มีการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน โดยมีนักกฎหมาย ทนาย ของประเทศญี่ปุ่นบางส่วนได้พยายามผลักดันการดำเนินการโครงการ CBDC ด้วยเช่นกัน โดยจะนำเรื่องนี้เข้างานประชุม G7 ในครั้งหน้าซึ่งจะมีธนาคารกลางจากประเทศแคนนาดา สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และธนาคารกลางยุโรปเข้าร่วมประชุมในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: สมาชิกสภาผู้แทนสหรัฐฯ จี้ Fed เร่งผลักดัน CBDC หลังหวั่นดิจิทัลหยวนชิงบัลลังค์