สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC) หรือหน่วยงาน ก.ล.ต. ได้ปฏิเสธการยื่นคำขอของบริษัท Wilshire Phoenix’s ในการยื่นขอการนำกองทุน บิทคอยน์ ประเภท ETF เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
เมื่อกลางปีที่ผ่านมา บริษัท Whilshire Phoenix’s บริษัทหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ได้ทำการยื่นคำขอในการเปิดกองทุนบิทคอยน์กับทาง NYSE Arca ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล โดยทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ได้ปฏิเสธการยื่นคำขอดังกล่าว เนื่องจากบริษัท Wilshire Phoenix’s นั้นยังไม่สามารถชี้แจงและพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าบิทคอยน์นั้นมีขนาดตลาดที่ใหญ่พร้อมทั้งสภาพคล่องที่ดีพอและไม่มีการปั่นราคาโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งทาง NYSE Arca นั้นไม่ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามกฏหมายด้วย
คำตัดสินดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อพระราชบัญญัติการแลกเปลื่ยนมาตรา 6(b)(5) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อกำหนดของกฎการแลกเปลื่ยนหลักทรัพย์แห่งชาติ ที่มุ่งเน้นในการป้องกันการกระทำทุจริต ฉ้อโกง และการดำเนินการที่ไม่โปร่งใสเพื่อคุ้มครองนักลงทุน
นาง Hester Peirce หนึ่งในคณะกรรมาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ หรือที่รู้จักกันในนาม “คุณแม่คริปโตฯ” ออกมาตำหนิหน่วยงาน ก.ล.ต.ว่า ได้ใช้มาตรฐานที่สูงเกิดความจำเป็นในพิจารณาผลิตภัณฑ์บิทคอยน์ อีกทั้งหน่วยงาน ก.ล.ต. นั้นยังไม่ได้มีกฏเกณฑ์ในการพิจารณาจากขนาดตลาดที่ใช้เป็นเหตุผลหนึ่งในการปฏิเสธกองทุนนี้ นอกจากนั้นเธอยังได้กล่าวเสริมว่า
“จากคำปฏิเสธหลายครั้งที่เกิดขึ้น ทำให้ดิฉันมองเห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทาง ก.ล.ต. ไม่เคยมีเจตนาจะอนุมัติคำขอตั้งแต่แรก และคงไม่มีคำขอไหนที่จะได้รับคำอนุมัติ เนื่องจากเงื่อนไขที่นำมาพิจารณานั้นมีเปลื่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมาตรฐานที่ผิดเพี้ยนเช่นนี้ถูกใช้เฉพาะกับขอคำที่เกี่ยวข้องกับบิทคอยน์เท่านั้น”
นาง Hester Peirce หรือที่รู้จักกันในนาม ‘คุณแม่คริปโตฯ’ Image Source: Coindesk
แผนในการกำกับและควบคุมกองทุนบิทคอยน์
บริษัท Wilshire Phoenix’s พยายามที่จะนำพันธบัตรรัฐบาลมาผสมกับ บิทคอยน์ ในกองทุน ETF นี้ โดยหวังว่านั่นจะช่วยให้มีโอกาสได้รับการอนุมัติมากขึ้น นาย William Herrmann กรรมการผู้จัดการ Wilshire ได้เปิดเผยรายละเอียดกับเว็บไซต์ CoinDesk ว่า กองทุนดังกล่าวจะมีกลไกการปรับอัตราส่วนการลงทุนโดยอัตโนมัติ เพื่อรักษาไม่ให้ราคาของกองทุนนั้นผันผวนจนเกินไป ถ้าหากราคาของบิทคอยน์มีความผันผวนมากขึ้น กองทุนจะเพิ่มการลงทุนในพันธบัตรเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคา
ความพยายามในการนำพันธบัตรมาผสมลงในกองทุนนี้มีสาเหตุมาจากที่ทาง ก.ล.ต. เคยตัดสินปฏิเสธกองทุน ETF อื่น ๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าขนาดตลาดของบิทคอยน์นั้นยังเล็กมาก และมีความเสี่ยงที่จะถูกควบคุมราคาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ง่ายเกินไป แต่ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่เป็นผลให้ ก.ล.ต. พอใจได้
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: อดีตประธาน CFTC ลั่น! ธนาคารกลางสหรัฐฯควรออก CBDC ได้แล้ว