จากสถานการณ์ประท้วงในฮ่องกงที่ยืดเยื้อยาวนานหลายเดือนส่งผลให้เกิดความต้องการใช้เงินดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเงินในรูปแบบนี้ก็นับเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือประท้วงรัฐบาล ทำให้เกิดความต้องการ Bitcoin และ Bitcoin Cash แม้ราคาแหล่งแลกเปลี่ยนท้องถิ่นจะพุ่งทะยาน
รายงานข่าวระบุว่า ห้างสรรพสินค้าชื่อดังในฮ่องกงเช่น Pricerite ประกาศจะรับ Bitcoin, Ether และ Litecoin ที่ห้างสาขาทุกแห่งในฮ่องกง, ด้านศูนย์การค้า MegaBox ในพื้นที่อ่าวเกาลูนของฮ่องกงจะแปลงราคาสินค้าที่ได้รับการชำระด้วยเงินดิจิทัลให้ผู้ซื้อทราบทันทีว่ามีมูลค่าเป็นเงินฮ่องกงเท่าใด
อีกทั้งมีความนิยม Bitcoin Cash เกิดขึ้นในหมู่ผู้สนับสนุนการประท้วงรัฐบาล เช่น การแจกจ่ายน้ำโดยขวดน้ำมีรหัส QR Code รับบริจาค Bitcoin Cash เพื่อเป็นทุนค่าใช้จ่ายอุปกรณ์สำหรับร่วมผู้ประท้วง
นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ Bitcoin ปรากฎบนร่มที่แจกจ่ายให้กับผู้เกี่ยวข้องกับการบริจาค โดยเป็นนัยยะโยงถึง “ Umbrella Revolution” เมื่อปี 2014 ในฮ่องกงซึ่งมีประชาชนนับแสนลงถนนประท้วง
อีกหนึ่งรูปแบบการประท้วงที่เกิดขึ้นใหม่คือ ยุทธวิธีถอนเงินสดจำนวนมากจากตู้กดเงินอัตโนมัติและจากธนาคารมาแปลงเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
นับตั้งแต่ปี 1983 เงินดอลลาร์ฮ่องกงมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เชื่อมโยงกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อัตรา 7.8 ต่อ 1 แต่ธุรกิจเงินดิจิทัลกำลังสร้างบทบาทเป็นธนาคารเป็นทางเลือก หากสถานการณ์บานปลายเลวร้ายส่งผลต่อภาคการเงินและค่าเงิน
ซึ่งถ้าเกิดวิกฤตการเงิน อัตราแลกเปลี่ยนและความต้องการ Bitcoin ก็ราคาอาจมีราคาสูงเกินจริงในการแลกผ่านตลาดท้องถิ่น ดังปรากฏการณ์ที่กลายเป็นที่รู้จักในเกาหลีใต้ในชื่อ“ กิมจิพรีเมี่ยม”
ราวเดือนมิถุนายนในช่วงเริ่มต้นของการประท้วง มีรายงานจากแหล่งแลกเปลี่ยนเงินในท้องถิ่นว่าราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึง Bitcoin Cash ก็มีความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในฮ่องกงมีผลกระทบจำกัดวง ซึ่งในระดับสากลราคาเงินดิจิทัลถือว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การประท้วงที่เกิดขึ้นน้อยมาก