นายชูชัย อุดมโภชน์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบประสิทธิประโยชน์ศุลกากร กรมศุลกากร ประเทศไทย เปิดเผยถึงความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนที่จะเข้ามาสนับสนุนด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนโดยระบุว่า การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามามีส่วนในการจัดเก็บและตรวจสอบระบบศุลกากรจะทำให้ทราบได้ว่าเป็นสินค้านั้นเป็นของต้องห้ามหรือไม่
ที่ผ่านมาศุลกากรจะได้รายการบัญชีสินค้าในเรือ 48 ชั่วโมงก่อนเรือเข้าสู่ท่า แต่ถ้าหากสามารถตรวจสอบสินค้าได้ตั้งแต่ตอนที่เรือออกจากต้นทางก็จะทำให้การตรวจสอบสินค้าฉับไวยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการภาษีศุลกากรโดยไร้การใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษโดยปรับเข้ามาสู่รูปแบบระบบดิจิทัล
ภายใน 3 เดือนจะมีการนำร่องใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ที่ท่าเรือแหลมฉบังเป็นอันดับแรก และเตรียมขยายไปสู่ท่าเรือกรุงเทพ แต่ยังคงจำกัดการใช้บล็อกเชนเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าเข้าประเทศทางเรือเป็นหลัก ซึ่งโดยปกติแล้วการขนส่งทางเรือมีระยะเวลาการขนส่งที่มากกว่าและสินค้ามีชิ้นใหญ่กว่าหรือมีปริมาณที่มากกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นโดยเฉพาะทางอากาศยาน
เทคโนโลยีจะอำนวยผู้นำเข้าสินค้าจะได้รับความสะดวกราบรื่นในกระบวนการตรวจสอบสินค้า เนื่องจากมีการตรวจสอบก่อนตั้งแต่ต้นทางมาแล้ว ฝั่งศุลการกรเองก็จะรับทราบราคาสินค้าก่อนและสามารถวิเคราะห์อัตราที่จะจัดเก็บภาษีหรือเลือกกำจัดได้เลยจากข้อมูลที่ได้รับมาก่อน ส่งผลให้จำเป็นต้องพึ่งพาดุลพินิจโดยเจ้าหน้าที่ให้น้อยครั้งลงได้
ในอนาคตอาจลดการลงมือตรวจสอบจริงเอง เหลือเพียง 10% เท่านั้น
สอดรับกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ซึ่งน้อยลงจากอดีตมีกว่า 5,000 คน แต่ปัจจุบันมีอัตรากำลังเพียง 4,300 คน เชื่อว่าบล็อกเชนจะช่วยลดภาระและเพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสอบและจัดเก็บภาษีเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้
ด้าน นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) เปิดเผยด้วยว่า ปัจจุบันในการขนส่งสินค้า 1 ชิ้นจำเป็นที่จะต้องใช้กระบวนการและขั้นตอนมากมาย ทำให้มีข้อมูลจำนวนมากถูกส่งต่อหลากหลายหน่วยงาน ซึ่งบล็อกเชนจะเข้ามามีส่วนพัฒนาการขนส่งของประเทศไทย ให้น่าเชื่อถือขึ้นและโปร่งใสได้ สามารถตรวจสอบได้แบบใกล้เคียงเวลาจริง ตั้งแต่ต้นทางตลอนจนปลายของการขนส่ง รวมถึงสามารถสื่อสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบหลังบ้าน ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ภายนอกได้