fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

(สรุปให้ง่าย) “อินทนนท์” หรือเงินบาทดิจิทัลเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตคนไทย

อินทนนท์ คือโปรเจกต์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีใหม่อย่าง Distributed Ledger Technology (DLT) หรือบล็อกเชนมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินไทยให้ทันสมัย จุดประสงค์หลักคือการ “ลดต้นทุน” ในการดำเนินการของสถาบันการเงินลง

แล้วโปรเจกต์นี้เกี่ยวข้องอะไรกับเราชีวิตคนไทยจะดีขึ้นได้อย่างไร?

ก่อนอื่นเรามาเข้าใจโครงสร้างของระบบสถาบันการเงินไทยเสียก่อน ทุกวันนี้เวลาที่เราจะโอนเงินระหว่างธนาคาร จะมีตัวกลางคือ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” เป็นคนจัดการยืนยันธุรกรรมให้ระหว่างสองธนาคาร โดยผ่านระบบที่เรียกว่า Bahtnet 

วิธีการนี้แต่ละธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศไทยต้องนำเงินมาฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้การยืนยันธุรกรรมเร็วขึ้น ผู้รับจะได้ไม่ต้องเสียเวลานานเกินไปในการรับเงิน แต่นี่คือต้นทุนที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งต้องเสียไปกับการที่จะต้องนำเงินไปวางไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้เกิดการรับรองธุรกรรมต่างธนาคาร

โปรเจกต์ อินทนนท์ จึงเกิดขึ้นเพื่อทำให้แต่ละธนาคารสามารถรับรองธุรกรรมกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอีกต่อไป ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินของแต่ละรายลงและยังทำให้การทำธุรกรรมต่างๆเร็วขึ้นและโปร่งใสตรวจสอบได้

กับคำถามว่าแล้วคนไทยได้ประโยชน์อะไรจากโปรเจกต์นี้เพราะดูจะเป็นเรื่องเฉพาะระหว่างแบงก์ด้วยกัน??

ต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้การที่เราจะโอนเงินระหว่างธนาคารจะมีต้นทุนเกิดขึ้นทุกครั้ง แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมหรือเสียในอัตราที่ไม่มาก แต่ธนาคารจะต้องแบกรับต้นทุนพวกนี้ ซึ่งท้ายที่สุดธนาคารก็ต้องหาทางเก็บรายได้ทางอื่นจากลูกค้าอยู่ดี

ทุกวันนี้ประเทศไทยมีต้นทุนทางการเงินจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้น ซึ่งคนทั่วไปมักจะไม่รู้เพราะเวลาเราใช้จ่ายเงินก็ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียม แต่เบื้องหลังทุกๆการทำธุรกรรมการเงินล้วนแล้วแต่มีต้นทุน 

ตั้งแต่การพิมพ์ธนบัตร การผลิตเหรียญ ปีๆหนึ่งเราต้องใช้งบประมาณตรงนี้ไปกว่า “หมื่นล้านบาท” ตั้งแต่ค่ากระดาษ ค่าพิมพ์ ฯลฯ และการที่เราสามารถกดเงินสดออกจากตู้เอทีเอ็มได้โดยสะดวก เบื้องหลังก็มีต้นทุนในการจัดส่ง การดูแลรักษา มากมาย 

หรือการโอนเงินข้ามจังหวัด โอนเงินต่างธนาคาร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีต้นทุนหมด ไม่ต่างอะไรกับธุรกิจอื่นๆ เพียงแค่เราไม่รู้เท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างบล็อกเชนจะเข้ามาช่วยลดต้นทุนของสถาบันการเงินลง ท้ายที่สุดธนาคารก็ไม่จำเป็นต้องเก็บค่าใช้จ่ายจากลูกค้า

สรุปคือ เวลานี้คนไทยอาจยังไม่เห็นภาพว่าเราได้ประโยชน์อะไรจากโปรเจกต์ อินทนนท์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นเรื่องของระหว่างสถาบันการเงินกันเอง

แต่ระยะยาวเมื่อต้นทุนทางการเงินของระบบธนาคารในประเทศลดลงคนไทยก็จะได้รับประโยชน์ในที่สุด

ล่าสุดได้มีการยกระดับโปรเจกต์อินทนนท์ให้ภาคเอกชนเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมแล้วนั่นคือบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับธนาคารกลางของฮ่องกงในการโอนเงินระหว่างประเทศโดยใช้บล็อกเชน

แสดงให้เห็นว่าคนไทยทั่วไปเริ่มที่จะใกล้ชิดเงินบาทดิจิทัลนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

แล้วในประเทศอื่นๆ ประชาชนของเขาได้ใช้เงินดิจิทัลที่ออกมาจากธนาคารกลางกันแล้วหรือยัง?? 

แม้ว่าตอนนี้หลายๆชาติที่พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือที่เรียกว่า CBDC จะยังอยู่ในขั้นตอนของการใช้งานระหว่างสถาบันการเงินหรือ Wholesale แต่บางประเทศอย่างสวีเดนที่เป็นต้นตำหรับของสังคมไร้เงินสดได้เริ่มนำเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางให้กับประชาชนทั่วไปได้ใช้แล้ว

รวมถึงเงินหยวนดิจิทัลของรัฐบาลจีนก็มีความชัดเจนว่าจะถูกส่งให้กับคนจีนได้ใช้อย่างแน่นอน โดยยังอยู่ในช่วงของการทดลอง

โลกการเงินกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินได้รับการยกระดับให้เข้าสู่โลกดิจิทัล การพัฒนาจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคนไทยจะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน

Leave a comment

About SuperCryptoNews

SuperCryptoNews is a global leading blockchain & crypto news provider, covering daily news focused on trading and investment developments in bitcoin and crypto. We bring you expansive crypto news coverage around the world. We offer many thought leadership opinions from blockchain experts and leaders of the industry.

Subscribe to SCN

© Copyright of Novum Global Consultancy Pte Ltd {2020-2023}. All rights reserved.

Contact Us   |   T&Cs   |   Privacy Policy   |   About Us

About SuperCryptoNews

SuperCryptoNews is a global leading blockchain and crypto news provider, covering daily news on the latest tech and trading developments in blockchain, crypto, Web3, fintech and technology.

Follow Us On

© Copyright of Novum Global Consultancy Pte Ltd {2020, 2021}. All rights reserved.

Contact Us   |   T&Cs   |   Privacy Policy   |   About Us