ความบาดหมางระหว่างสหรัฐฯกับจีน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสรรหาคำเรียบง่ายมาอธิบายได้ เนื่องจากมีประเด็นขัดแย้งเห็นต่างเกี่ยวพันมากมาย ไม่วาจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือแม้แต่ ด้านสังคมและสิทธิมนุษยชน
หากในอดีตรัสเซียคือศัตรูตัวฉกาจของสหรัฐฯ จีนก็คือหนามตำใจของพญาอินทรีย์ในปัจจุบัน ที่พยายามใช้อำนาจทุกทางในการต่อกรกับจีนด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
ทั้งสองฝ่ายต่างตอบโต้แลกเปลี่ยนโยนระเบิดเข้าหากันบนสนามรบทั้งใหม่และเก่า ไม่ว่าจะป็นการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ แคมเปญใส่ร้ายป้ายสี และผลกระทบจากการกระทบกระทั่งทางการทูต
สำหรับสนามรบระหว่างสหรัฐฯกับจีนล่าสุด เกี่ยวข้องกับเรื่องการสร้าง ประยุกต์ใช้ และแจกจ่าย สกุลเงินดิจิทัลกลาง ( central bank digital currency : CBDC) ที่ขณะนี้ บรรดาธนาคารกลางและรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกต่างเริ่มดำเนินการวิจัย ออกแบบ และนำร่องทดลองใช้สกุลเงิน CBDC ตามแนวทางของตนเอง
กระนั้น สกุลเงิน CBDC ที่ได้รับการจับตามองอย่างคาดหวังมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้น เงินดิจิทัลดอลลาร์สหรัฐ และเงินดิจิทัลหยวน
ในศึกการต่อสู้ครั้งใหม่เพื่อช่วงชิงอำนาจสูงสุดทางเศรษฐกิจและการเงิน หลายฝ่ายกเริ่มตั้งคำถามว่า ใครจะเป็นคนแรกที่ได้นำ CBDC มาใช้ในวงกว้าง และประสบความสำเร็จอย่างดงาม
เพื่อตอบคำถามข้างต้น จำเป็นต้องคำนึงถึงหลายแง่มุมสำคัญในการประเมินหาผู้ชนะ ในศึก CBDC ซึ่งปัจจัยที่ว่านี้ประกอบด้วย
บทบาทของรัฐบาลและเหล่าผู้นำในภาคอุตสาหกรรม
ความมุ่งมันในการพัฒนา CBDC เป็นสิ่งที่ทั้งประเทศต้องดำเนินการร่วมกัน ซึ่งหมายความว่า ไม่เพียงแต่ผู้นำประเทศ ธนาคารกลาง หรือสถาบันการเงินเท่านั่น แต่หมายรวมถึงผู้นำและกลุ่มผู้สนับสนุนในภาคส่วนของสังคมก็จำเป็นที่จะต้องลงเรือลำเดียวกัน การที่ธนาคารแค่ออกมาผลัดกัน CBDC ไม่เพียงพอที่จะทำให้CBDC ใช้งานได้จริง แต่ยังจำเป็นต้องมีพลังสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมชัดเจนต่อนวัตกรรมทางการเงิน การการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้
ทั้งนี้ ในประเด็นบทบาทของรัฐ ฝั่งจีนดูจะแสดงว่าให้การสนับสนุนอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ โดยในการประชุมสุดยอด G20 เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนได้ออกโรงเรียกร้องให้ผู้นำ G20 ร่วมมือกันพัฒนา CBDC โดยที่ผ่านมา ผู้นำจีนได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนและเป็นแกนนำในการแสวงหาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยเงินหยวนดิจิทัล
ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำโลกจะต้องระบุแนวทางมาตรฐานเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์นว้ตกรรมสกุลเงินดิจิทัล เมื่อหันกลับมามองยังสหรัฐฯ ความเป็นผู้นำของแดนลุงแซมในสมรภูมิ CBDC กลับไม่มีอยู่จริง อีกทั้งสกลุงเงินดิจิทัลสำหับพลเมืองชาวสหรัฐส่วนใหญ่ล้วนมองว่าเงินดิจิทัลเป็นแนวคิดในต่างประเทศ
ความรวดเร็วฉับไวในการดำเนินการ
ในทุกๆ การแข่งขัน บ่อยครั้งที่ อัตราความเร็ว ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะส่งผลต่อการมาถึงเส้นชัยเป็นคนแรก ซึ่งกรณีของ CBDC ก็ไม่เว้น
ทั้งนี้ จีนมีข้อได้เปรียบในด้านนี้มากกว่าเมื่อเทียกับสหรัฐฯ เพราะจีนเป็นหนึ่งในผู้ใช้งาน รายแรกของ CBDC ซึ่งเริ่มมีการออกแบบและกำหนดกรอบแนวคิดของเงินหยวนดิจิทัลเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว กระนั้น หากจะนับกันจริงๆ แล้ว จีนเริ่มก้าวเข้าสู่หนทางของสกุลเงินดิจิทัลในปี 2014 ด้วยการก่อตั้งสถาบันวิจัยสกุลเงินดิจิทัลของจีน ซึ่งความก้าวหน้าที่เห็นในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลจากการตรากตรำตลอด 6 ปีของจีน
ในทางตรงกันข้าม สหรัฐฯเพิ่งจะเริ่มมาพิจารณาแนวคิดเรื่องเงินดอลลาร์ดิจิทัลอย่างจริงจังในช่วงไตรมาสสามปีนี้ ซึ่งนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่าเฟดกำลังติดตามเทคโนโลยีทางการเงินใหม่แน่นอน แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯกลับยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่เป็นรูปธรรม
สำหรับสหรัฐฯ แล้ว พูดได้ว่า อย่างน้อย เฟดก็ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเงินดอลลาร์ดิจิทัลไปใช้แม้แต่ในขั้นตอนการทดสอบ
การระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์สหรฐฯ มีความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญ และความผันผวนดังกล่าวก็ยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้นไปอีกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเลือกตั้งสหรัฐในปี 2563
นอกจากนี้ ความขัดแย้งในเรื่องของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ และนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ ก็กำลังเป็นภัยคุกคามสั่นคลอนสถานะพิเศษของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ไม่มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงในเร็ววันนี้ แต่หลายธนาคารและสถาบันวิจัย เช่น
Deutsche Bank ก็ออกมาคาดการณ์ว่า ค่าเงินดอลลาร์อาจพ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งในภายหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุลเงินหยวนดิจิทัล
ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังได้เร่งดำเนินการทดลองและทดสอบขนาดใหญ่หลายครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเงินหยวนดิจิทัล หรือ DCEP สามารถผ่านการทดสอบ Stress Test และได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพเหมาะสมที่สุดก่อนที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ขณะเดียวกัน จีนไม่เพียงแต่ก้าวจากขั้นตอนการวิจัย การออกแบบ และการกำหนดแนวคิด ไปสู่ขั้นต่อไปเท่านั้น แต่ยังมีการทำการทดสอบเงินหยวนดิจิทัลอย่างจริงจังในพื้นที่ 4 เมืองใหญ่ของประเทศ ที่ทำให้พบกรณีตัวอย่างการใช้เงินหยวนดิจิทัลหลายพันกรณี มีการสร้างแอพลิเคชั้นสำหรับการโอนและจัดเก็บเงินหยวนดิจิทัล มีการอนุญาตให้พลเรือนได้ลองใช้เงินหยวนดิจิทัลที่ร้านค้าจริงๆ
ล่าสุด จีนยังตั้งใจออกรางวัลล็อตเตอรีดิจิทัลหยวนรอบที่สองให้กับบรรดาประชากรชาวจีนในเมืองอื่นๆ หลังจากที่การทดลองออกล็อตเตอร์รีครั้งแรกที่เมืองเสิ่นเจิ้นเมื่อเดือนตุลาคมประสบความสำเร็จด้วยดี
หันกลับมาดูยังฝั่งสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ จะไม่ได้กระตือรือล้นที่จะมุ่งไปข้างหน้าพร้อมสกุลเงินดิจิทัลเลยในห้วงเวลานี้ แม้ว่าจะมีกระแสยอมรับถึงความจำเป็ฯของนวัตกรรมการเงินท่ามกลางการชำระเงินแบบดั้งเดิม
กระนั้น ก็ยังมีความก้าวหน้าเล็กอยู่บ้าง เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ได้ออกมาประเทศไม่กี่เดือนก่อนว่า เอกชนไม่ควรมีส่วนได้ส่วนเสียงในการสร้าง CBDC และ เงินดิจิทัลกลางควรสงวนรักษาไว้สำหรับธนาคารกลางของประเทศเท่านั้น
ท่าทีดังกล่าวของเฟดยังมีขึ้นหลังจากที่สถาบันการเงินมีชื่อสองแห่งในตลาดเสนอสมุดปกขาว Digital Dollar เพื่อให้รายละเอียดว่า เงินดอลลาร์ดิจิทัลควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรในอนาคต
ในทางกลับกัน ความรวดเร็บฉับไวไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ตัดสินความก้าวหน้าในการพัฒนา CBDC เนื่องจากการนำ CBDC มาใช้งานย่อมหมายถึงการปรับโครงสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศเช่นที่เราทราบกันดีในระดับหนึ่ง
แนวคิดดังกล่าวไม่ใช่ความคิดริ่เริ่มที่จะดำเนินการไปอย่างขอไปทีได้ เพราะแต่ขั้นตอนล้วนมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไปในทุกส่วนของแผน CBDC อีกทั้ง การที่สามารถดึงเอากระบวนการสรุปออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้เห็นว่าควรที่จะเริ่มต้นลงมือทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แทนที่จะปล่อยไว้จนสายเกินไป
ทั้งนี้ ดูเหมือนว่า การบรรลุความสำเร็จในแต่ละขั้นของเงินหยวนดิจิทัลจีนจะทำให้สหรัฐฯ ตระหนักได้ถึงความร้อนแรงของเรื่องดังกล่าว โดยรายงานของ John Ratcliffe ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ระบุความกังวลเกี่ยวกับ DCEP ของจีนต่อ Jay Clayton ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ในปัจจุบัน และว่าการเพิ่มขึ้นของ DCEP จะคุกคามความได้เปรียบในการแข่งขันของ บริษัท ในสหรัฐฯและภาคนวัตกรรมโดยทั่วไป
“การแข่งขันกับจีนถือเป็นความท้าทายที่ร้ายแรงพอสมควรหากไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯเข้ามาขวาง และระบบการกำกับดูแลของเราจะต้องสนับสนุนนวัตกรรมของอเมริกา มิฉะนั้น บริษัทอเมริกันจะเสียเปรียบในการแข่งขันอย่างมากจนเราอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันนี้ไปอย่างถาวร” John Ratcliffe ระบุ
การออกแบบและการประยุกต์ใช้
สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักให้ดีก็คือ CBDC ทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้เหตุผลเดียกวัน โดยก่อนหน้านี้ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) และ World Economic Forum (WEF) ต่างก็แสดงความเห็นเกี่ยวกับ CBDC ว่า ไม่ใช่่ทุกประเทศที่ควรจะรีบเร่งดำเนินการสร้างCBDC และนำมาใช้งาน โดย WEF ถึงกับจัดทำคู่มือฉบับย่อ เพื่อเป็นมาตรฐานที่จะคอยอำนวยความสะดวกใหักับนานาประเทศแลธะนาคารทั้งหลายในการกำหนดกรอบแนวคิดสกุลเงินดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของตน ในกรณีที่มีการนำมาใช้งาน
เหตุผลเพราะ CBDC มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภารมากกว่าในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ เท่านั้นไม่ใช่ประเภทอื่นๆ และสิ่งสำคัญคือต้องแยกแยะคุณลักษณะของเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันก่อนที่จะตัดสินใจว่า CBDC เหมาะสมหรือไม่ และหากเหมาะสม หลังจากนั้น ก็ค่อยคิดต่อไปว่าควรมีรูปแบบใด
ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ประเทศใหญ่ๆ ทุกแห่งเริ่มมีมิติในการสร้าง CBDC แต่ในออสเตรเลียกับนอร์เวย์กลับเป็นสองประเทศที่ตัดสินใจว่า สกุลเงินดิจิทัลและการรับมาใช้ยังไม่ได้เป็นประเด็ฯเร่งด่วน ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทย ได้ตัดสินใจที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยสกุลเงินดิจิทัล เพียงแต่ในระยะเริ่มต้นจะกำดัอยู่ในระดับสถาบันการเงินก่อน แทนที่จะไปยังภาคธุรกิจค้าปลีก
ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่การออกแบบ CBDC จะต้องสอดคล้องเหมาะสมและตรงตามเป้าหมายของสภาพเศรษฐกิจของประเทศแต่ละประเทศในปัจจุบันเท่านั้น แต่ CBDC ยังต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะนำไปใช่ในแง่มุมต่างๆ ด้วย เช่น ในแง่ของธุรกิจ สกุลเงินดิจิทัลควรง่ายต่อการนำไปใช้และใช้ในอุตสาหกรรมและเสาหลักต่างๆ ขณะที่ในแง่ของประชาชนทั่วไป
CBDC ควระป็นสิ่งที่ใช้งานได้ง่ายในชีวิตประจำวัน
จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯยังไม่ได้มีการเปิดตัวระยะทดลองทดสอบสกุลเงินดิจิทัลดอลลาร์ที่เปิดให้ประชาชนชาวอเมริกันเข้ามามีส่วนร่วมแต่อย่างใด แต่จีนกลับเดินหน้าดำเนินการทดสอบ โดยเพียงแค่การทดสอบ DCEP คร้งใหญ่ครั้งแรกจีนก็พบกรณีการใช้งานเงินหยวนดิจิทัลมากกว่า 6,000 กรณ๊ในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจีนจะค้นพบกรณีตัวอย่างอีกมากมายขณะเดินหน้าดำเนินการทดสอบต่อไป
ระดับการยอมรับของพลเมืองต่อการใช้ CBDC
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ปัจจัยที่ควรรระมัดระวังเกี่ยบกับ CBDC ก็คือ สิ่งที่รัฐบาลและบรรดาธนาคารคิดว่าได้ผล แต่อาจไม่ป็นผลอย่างที่หวังในหมู่ประชาชนคนทั่วไป ดังนั้นการ ออกแบบ CBDC จึงควรมีโครงสร้างรอบตัวบุคคลหรือหน่วยงานที่ใช้สกุลเงินดิจิทัลและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้เหล่านี้คือสิ่งที่หนุนความสำเร็จของ CBDC
ทั้งนี้ การดำเนินการทุกอย่างจะไร้สาระและสูญเปล่าทันที หากรัฐบาลและหน่วยงานทางการเงินส่วนกลางทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากมายมหาศาลให้กับการสร้างและทดลอง CBDC เพื่อให้ประชาชนเลือกที่จะใช้เงินสกุลดิจิทัลเพียงสัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้งหรือปีละครั้งเท่านั้น
จีน คือหนึ่งในประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในเวลานี้ พิสูจน์ได้จากการทดลองออกล็อตเตอร์รี DCEP ครั้งแรกในเขต Luohu ของเมืองเสิ่นเจิ้น โดยมีการมอบซองแดงมูลค่าราว 30 ดอลลาร์สหรัฐให้กับผู้ชนะลอตเตอรีเพื่อนำไปใช่จ่ายที่ร้านค้าในเครือที่เข้าร่วมโครงการตลอดหนึ่งสัปดาห์
ขณะที่ การทดลองดังกล่าวได้รับเสียงชื่นชมยกย่องจากนานาประเทศ แต่มุมมองของพลเรือนกลับไม่มองเช่นนั้น โดยประชาชนชาวจีนไม่เห็นว่าเงินหยวนดิจิทัลไม่ได้ใช้งานง่ายกว่าที่มีอยู่ในระบบของ WeChat หรือ Alipay และไม่เห็นว่า การใช้สกุลเงินดิจิทัลแตกต่างจากการใช้เงินหยวนในธุรกรรมดิจิทัลหรือออนไลน์อย่างไร
ผลทดสอบดังกล่าว ทำให้มีการลงมติเป็นเอกฉันท์ได้ว่า DCEP จะต้องสร้างการทดสอบภาคสนามให้ดีขึ้นเพื่อจะได้รับการสนับสนุนจากประชนชน ซึ่งข้อเสนอแนะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นว่า เวอร์ชั่นสุดท้ายของ DCEP จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากประชาชนชาวจีน
กฎระเบียบการเงินและสกุลเงินดิจิทัล
ความชัดเจนด้านกฎระเบียบข้อบังคับคือหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะยกระดับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมมการเงินและสกุลเงินดิจิทัล โดยมีเพียงการกำหนดกฎและข้อบังคับอย่างชัดเจนเท่านั้นที่ธุรกิจองค์กรและหน่วยงานต่างๆจะสามารถก้าวไปข้างหน้า