ในบางประเทศที่เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างหนักหรือเข้าขั้นเงินฝืด ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆอาจจำเป็นต้องใช้นโยบาย ดอกเบี้ยติดลบ พูดง่ายๆคือปกติแล้วเวลาเราฝากเงินในธนาคารจะได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก
แต่หากดอกเบี้ยติดลบ เวลาที่เราฝากเงินในธนาคารจะกลับเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการฝากเงินแทน!! จุดประสงค์ที่ทำแบบนี้เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนนำเงินออกไปใช้จ่ายหรือลงทุนอย่างอื่นแทน เพราะถ้าเงินยังแช่ในธนาคารก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องให้กับธนาคารกลาง
ประเทศที่ดอกเบี้ยติดลบอย่างเช่น ญี่ปุ่น ซึ่งทำเช่นนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีรวมถึงบางประเทศในยุโรปที่ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ บางประเทศถึงกับใช้นโยบายดอกเบี้ยเงินกู้ติดลบนั่นคือเดนมาร์ก
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนมิ.ย. 2557 โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับ -0.1% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนม.ค. 2559 ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้การแข็งค่าของเงินเยนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออก
ล่าสุดธนาคารกลางอังกฤษได้เสนอขายพันธบัตรอัตราผลตอบแทนติดลบเป็นครั้งแรกโดยมีอายุ 3 ปี วงเงิน 3.8 พันล้านปอนด์ มีอัตราผลตอบแทน -0.003%
ขณะเดียวกันหากวิเคราะห์จาก Fed Funds Future จะพบว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ของธนาคารกลางสหรัฐฯเริ่มเห็นแนวโน้มที่จะออกมาติดลบเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้และมีแนวโน้มที่จะติดลบไปอีกเกือบสองปี แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯยืนยันว่าจะไม่ใช้นโยบาย ดอกเบี้ยติดลบ ก็ตาม
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : บิทคอยน์-ลิบรา-หยวนดิจิทัล ใครจะได้ปกครองระบบการเงินโลกใหม่
การที่อัตราดอกเบี้ยติดลบจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ดอกเบี้ยติดลบคือสัญญาณว่าเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างหนัก การลงทุนในตลาดหุ้นที่อ้างอิงกับ Real Sector จะทำได้ยากขึ้น เช่นเดียวกับน้ำมันที่อิงกับภาคเศรษฐกิจจริง
ในภาวะที่ตลาดเงินให้ผลตอบแทนที่ต่ำ สินทรัพย์ที่ทำหน้าที่คล้ายเงินหรือมีความเป็น Store Of Value จึงมีโอกาสที่จะโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์นี้ ซึ่งมีอยู่สองสินทรัพย์นั้นคือบิทคอยน์และทองคำ ต่างสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นเหนือสินทรัพย์อื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม : เงินดิจิทัลมีส่วนเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างไร
วิเคราะห์ทางกราฟเทคนิค BTC
แนวรับเส้นเทรนด์ไลน์ (เส้นสีเหลือง) ยังทำหน้าที่ประคองบิทคอยน์ให้ยังคงเป็นขาขึ้นต่อไปได้ เช่นเดียวกับแนวรับตามเส้น Fibonacci ที่ 8,854 ดอลลาร์ แนวรับหลังจากนี้ไปคือเส้น EMA89 (เส้นสีน้ำเงิน) และแนวรับของ Bolinger Band (เส้นสีเขียว)
แนวต้านสำคัญที่ต้องผ่านไปให้ได้คือ 10,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นทั้งแนวต้านตามอินดิเคเตอร์อย่าง Fibonacci และ Bolinger Band หากสัปดาห์นี้ยังไม่ผ่านอีกรอบอาจจะส่งสัญญาณเชิงลบทางเทคนิคออกมา จากการที่ราคาทำนิวโลว์ต่อเนื่อง
อ่านเพิ่มเติม : 4 เหตุผลที่ควรลงทุนในบิทคอยน์ตอนนี้ทันที!!